ทัวร์อินเดียใต้ Ep.1 มีนักษี อัมมัน มหาเทวาลัยอันยิ่งใหญ่แห่งมธุไร

ทัวร์อินเดียใต้

ทัวร์อินเดียใต้ Ep.1 มีนักษัตร อัมมัน มหาเทวาลัยอันยิ่งใหญ่แห่งมธุไร

เทวาลัยมีนักษี (Meenakshi Temple)

เทวาลัยมีนักษี อัมมัน หรืออีกชื่อ มีนัษีสุนทเรศวร เป็นหนึ่งเทวสถานฮินดูที่เก่าแก่และสำคัญที่สุดในอินเดีย ตั้งอยู่ในเมืองมธุไร รัฐทมิฬนาฑู ทางใต้สุดของอินเดีย เป็นเทวสถานที่มีความสำคัญมากทางประวัติศาสตร์และตำนาน โดยเชื่อกันว่าพระศิวะได้ทรงอวตารเป็นชายรูปงามชื่อ สุนเรศวร ที่ได้แต่งงานกับ มีนัษี ซึ่งเป็นองค์อวตารของพระแม่ปารวตี

นอกจากความขลังของเรื่องราวเกี่ยวการอวตารของพระศิวะและพระนางปราวตี เทวสถานแห่งนี้ยังมีสถาปัตยกรรมสุดวิจิตรอลังการ และน่าทึ่งสุด ๆ ซึ่งอินเดียยกให้เป็นหนึ่งในสิ่งมหัศจรรย์ของอินเดีย และบางคนเชื่อว่าสามารถเทียบได้กับ 7 สิ่งมหัศจรรย์ของโลก โดยมีผู้ศรัทธานับหมื่นคนต่อวันได้หลั่งไหลเข้ามาแสวงบุญ โดยเฉพาะในช่วงเทศกาล “ติรูกัลยานัม Tirukalyanam” ที่มีช่วงการจัดงานถึง 10 วัน ทำให้มีผู้คนแห่แหนเข้าร่วมงานมากกว่า 1 ล้านคน แม้จะมีผู้คนมากมายเข้ามาร่วมพิธีตลอดทั้งวันทั้งคื แต่การบำรุงรักษาเทวสถานกได้รับการดูแลอย่างดี สะอาด จนได้ฉายาว่า Best Swachh Iconic Place มีความหมายว่า สถานสถิตรูปเคารพที่สะอาดที่สุด ในอินเดีย
# ทัวร์อินเดียใต้ # ทัวร์อินเดียใต้ # ทัวร์อินเดียใต้

ทัวร์อินเดียใต้
ทัวร์อินเดียใต้

ทัวร์อินเดียใต้ เทวาลัยมีนักษี
โดดเด่นเป็นสง่าสวยงามน่าทึ่งเมื่อมองจากระยะไกล

ทัวร์อินเดียใต้ เทวาลัยมีนักษี
เสาสลักเป็นพันต้นแบกรับเพดานสีสันสดใสสวยงาม

ประวัติศาสตร์

                ตามประวัติที่เล่าต่อ ๆ กันมา เทวาลัยมีนักษี แห่งนี้มีอายุย้อนไปราวคริสต์ศตวรรษที่ 1 โดยเหล่านักวิชาการได้อ้างว่าเทวสถานแห่งนี้สร้างขึ้นโดยกษัตริย์ราชวงศ์ปัณฑยะพระนามว่า กุลาเชการ์ ปัณฑยะ Kalashekarar Pandya พระองค์ทรงก่อสร้างเทวาลัยตามคำแนะนำของพระศิวะในพระสุบินของพระองค์ ในศาสนคัมภีร์ของฮินดูในสมัยคริสต์ศตวรรษที่ 1-4 กล่าวว่าเทวสถานแห่งนี้ เป็นโครงสร้างแกนกลางของเมือง ในขณะศาสนคัมภีร์ในต้นคริสต์ศตวรรษที่ 6 ได้กล่าวว่าเทวสถานแห่งนี้เป็นที่ประชุมพบปะกันของเหล่าปราชญ์เมธี มาหารือเกี่ยวกับเรื่องสำคัญต่าง ๆ ของเมือง

          ในช่วงคริสต์ศตวรรษที่ 14 มาลิก คาฟูร์ ผู้บัญชาการกองทัพสุลต่านแห่งเดลี ได้กรีฑาทัพจากทางเหนือเข้าพิชิตดินแดนต่าง ๆ ของอินเดียใต้โดยเข้าปล้นทรัพย์สินต่างๆ ของวัดหลายแห่งตลอดเส้นทางซึ่งรวมถึง วัดมีนักษีอันเลื่องชื่อแห่งแดนใต้ด้วย โดยของมีค่า เช่น ทองคำ เงิน และอัญมณีล้ำค่ามากมายถูกรวบรวมนำกลับไปที่เดลี ทิ้งไว้เพียงซากปรักหักพัง หลังจักรวรรดิฮินดู วิชัยนคร Vijaya Nagara สามารถยึดเมืองมธุไรมาจากอุ้งมือของสุลต่านแห่งเดลีได้สำเร็จ เทวาลัยมีนักษีจึงได้รับการบูรณะขึ้นมาใหม่และขยายอาณาเขตให้เทวสถานมีขนาดใหญ่โตในรัชสมัยของกษัตริย์วิษวนฐา นายกะ แห่งราชวงศ์นายกะ โดยก่อสร้างตามรูปแบบสถาปัตยกรรมของ “ศิลป์ศาสตรา” ซึ่งเป็นตำราโบราณว่าด้วยการก่อสร้างเทวสถานฮินดู

ในปีค.ศ 1623-1655 รัชสมัยของ ธิรุมาลัย นายัก กษัตริย์ผู้ปกครองมธุไร ได้สร้างห้องโถงที่มีเสาจำนวนมาก ที่เรียกว่า “มัณฑะปัม Mandapams” และขยายพื้นที่เทวาลัยเพิ่มเติมโดยผู้ปกครองหลายพระองค์รัชสมัยต่อมา จนกระทั่งการเข้ามาของบริษัทอินเดียตะวันออกของอังกฤษ ทำให้เทวาลัยเข้าสู่ยุคเสื่อมอีกครั้ง บางส่วนถูกทำลายระหว่างการปกครองของบริติช ราช ที่เข้ามาล่าอาณานิคม

ในปี ค.ศ. 1959 ชาวทมิฬฮินดูรวบรวมเงินบริจาคและร่วมมือกับนักประวัติศาสตร์และวิศวกร บูรณะเทวลัยจนเสร็จสมบูรณ์ในปี ค.ศ. 1995
# ทัวร์อินเดียใต้ # ทัวร์อินเดียใต้ # ทัวร์อินเดียใต้

โครงสร้างของเทวลัย (Temple Structure)

ด้วยขนาดพื้นที่กว่า 14 เอเคอร์ ล้อมรอบด้วยกำแพงขนาดใหญ่ที่สร้างขึ้นเพื่อป้องกันผู้รุกราน  ใจกลางเมืองมธุไร เมื่อมองจากมุมสูงจะเห็นโครงสร้างเทวลัยที่สร้างตาม จักรวาลคติ โดยมี มัณฑละ (Mandala) เป็นโครงสร้างที่สร้างขึ้นตามกฎของความสมมาตร โดยมีศาลเทพสถิตหลักสองแห่ง ที่อุทิศให้กับ องค์เทพสุนฑเรศวร และ องค์เทวีมีนักษี นอกจากนี้ยังมีศาลเทพสถิตอื่น ๆ เช่น องค์พระพิฆเนศ Ganesha และ พระขันธกุมาร Murugan รวมถึงศาลสถิตของพระลักษมีชายาของพระวิษณุ (ผู้พี่) พระรักมินี (ผู้น้อง) และพระสรัสวดี ชายาของพระพรหมอีกด้วย

ภายในเทวาลัยยังมีบ่อน้ำศักดิ์สิทธิ์ “โปตระมาลัย กุลาม Potramarai Kulam” ซึ่งมีความหมายตามตัวอักษรว่า “สระน้ำที่มีดอกบัวสีทอง” ว่ากันว่าพระศิวะให้พรสระนี้และประกาศว่า “ไม่มีสัตว์ทะเลใด ๆ จะเติบโตในสระนี้ได้”  

เทวลัยมีทางเข้าขนาดใหญ่มหึมาที่เรียกว่า “โคปุรัม Gopuram” มีลักษณะสถาปัตยกรรมที่เหมือนกัน ตั้งตระหง่านอยู่ทั้งสี่ทิศ มีทั้งหมด 14 ประตูที่ถูกสร้างเป็นชั้น ๆ หลายชั้นลดหลั่นกันลงมา แสดงเรื่องราวในตำนานต่าง ๆ นับพันเรื่อง และภายในยังมีโคปุรัมน้อยใหญ่ทำหน้าที่เป็นประตูสู่ศาลสถิตของเหล่าเทพต่าง ๆ ซึ่งโคปุรัมที่สำคัญของเทวลัยมีดังต่อไปนี้

  • โคปุรัมกาฑก (Kadaka Gopuram) เป็นประตูห้าชั้นสูงตระหง่านที่นำไปสู่ศาลเทพสถิตหลักของ เทวีมีนักษี สร้างขึ้นช่วงกลางศตวรรษที่ 16 โดย “กษัตริย์ตุมปิจิ นายักการ์ Tumpichi Nayakkar”
  • โคปุรัมศาลเทพสถิตสุนฑเรศวร (Sundareswarar Shine Gopuram) ซึ่งเป็นโคปุรัมที่เก่าแก่ที่สุดของเทวสถาน สร้างโดยกษัตริย์ กุลาเชการ์ ปัณฑยะ ทำหน้าที่เป็นประตูสู่ศาลเทพสถิตสุนฑเรศวร ซึ่งเป็นองค์อวตารของพระศิวะ
  • โคปุรัมจิตระ Chitra Gopuram สร้างโดยกษัตริย์ มารวรมัน สุนฑระ ปัณฑยัน ที่ 2 Maravarman Sundara Pandyan I เป็นประตูที่แสดงแก่นสาระของศาสนาและวิถีฆราวาสของศาสนาฮินดู
  • โคปุรัมนาฑึกกัตฎุ Nadukkattu Gopuram เป็นประตูนำไปสู่ศาลพระพิฆเนศ ซึ่งตั้งอยู่ระหว่างศาลเทพสถิตหลักทั้งสองแห่ง
  • โคปุรัมมตไต Mottai Gopuram เป็นโคปุรัมที่มีรูปปูนปั้นน้อยกว่าประตูอื่น ๆ แต่ที่น่าสนใจ คือ เป็นโคปุรัมที่ไม่มีหลังครับมาเกือบสามศตวรรษแล้ว
  • โคปุรัมนายกะ Nayaka Gopuram สร้างขึ้นราวปี ค.ศ. 1530 โดยกษัตริย์วิสวัปปา นายักการ์ ซึ่งเป็นโคปุรัมที่มีลักษณะคล้ายกับประตูอื่น ๆ ที่เรียกว่า โคปุรัมปาลไฮ Palahai Gopuram อย่างน่าอัศจรรย์

เทวลัยมีนักชีมีห้องโถงหลายเสา ที่เรียกว่า “มณฑป Mandapams” ถูกสร้างขึ้นโดยกษัตริย์และจักรพรรดิหลายพระองค์ และเป็นที่พำนักของเหล่าผู้ศรัทธาที่มาแสวงบุญ และมณฑปที่สำคัญบางส่วน ได้แก่

  • อยิรักกาล มณฑป (Ayirakkal Mandapam) มีควาหมายว่า ห้องโถงที่มีเสานับพัน สร้างโดย กษัตริย์อริยนัฎฐา มุฑไลยา (Ariyanatha Mudaliar) ซึ่งเสาจริงมีทั้งหมด 985 ต้น โดยเสาแต่ละต้นมีการแกะสลักอย่างวิจิตรงดงาม และมีรูปของตัว
  • ลิกนฑู มณฑป (Kilikoondu Mandapam) มณฑปนี้เดิมสร้างขึ้นใช้เป็นที่อยู่อาศัยของนกแก้วหลายร้อยตัว นกแก้วที่ถูกเลี้ยงในกรงจะถูกฝึกให้พูดว่า “มีนักษี” ห้องโถงที่อยู่ถัดจากศาลเทวีมีนักชี มีประติมากรรมตัวละครที่มาจากมหากาพย์ภารตะ
  • อัชตา ศักติ มณฑป (Ashta Shakti Mandapam) มณฑปนี้เป็นที่ประดิษฐานของรูปปั้นของเทวีแปดองค์ สร้างโดยราชินีสองพระองค์ โดยตั้งอยู่ระหว่างโคปุรัมหลักกับโคปุรัมกาฑก
  • ายกะ มณฑป (Nayaka Mandapum) มณฑปนี้เป็นสร้างโดยกษัตริย์ชินนัปปา นายัคการ์ โถงของมณฑปมีเสานับร้อยต้น เพื่อรองรับโครงสร้างและภายในเป็นที่ประดิษฐานของพระศิวะนาฎราช
    # ทัวร์อินเดียใต้ # ทัวร์อินเดียใต้ # ทัวร์อินเดียใต้
ทัวร์อินเดียใต้

ทัวร์อินเดียใต้ : รูปแผนผังเทวาลัยมีนักษีสุนทเรศวร
ที่มา https://tapioca.co.in/deities-inside-meenakshi-temple

ความสำคัญและการสักการะบูชา (Significance & Worship)

เนื่องจากองค์เทวีมีนักษีเป็นเทพเจ้าหลักของเทวสถานแห่งนี้ ซึ่งหมายถึงการให้ความสำคัญกับผู้หญิงในครอบครัวชาวทมิฬฮินดู และแสดงให้เห็นถึงความสัมพันธ์อันดีระหว่างนิกายต่างๆ ไม่ว่าจะเป็น ไศวนิกาย ไวษณพนิกาย และศักตินิกาย ผ่านการปรากฏกายขององค์เทพสำคัญของแต่ละนิกายที่มาร่วมงานพิธีเสกสมรสครั้งนี้ และศาลสถิตเทพขององค์เทพสุนฑเรศวร ซึ่งอยู่รูปฟอร์ม รชตะ สไภ (Rajata Sabhai) เป็นหนึ่งในห้าของ ปัญจะ สไภ (Pancha Sabhai) มีความหมายว่า ศิวนาฎราชทั้งห้ารูปฟอร์ม ซึ่งเชื่อว่าพระศิวะได้แสดงการเต้นรำแห่งจักรวาล โดยพิธีกรรมจะมีการจัดขบวนแห่รูปเคารพขององค์สุนฑเรศวรที่อยู่บนเกวียน เคลื่อนย้ายไปยังศาลสถิตเทวีมีนักษีทุกคืน และจะนำกลับมายังศาลสุนฑเรศวรตอนเช้า เหล่าผู้ศรัทธาจะบูชาเทวีมีนักชีก่อนที่จะต่อด้วยการสวดมนต์สักการะถึงองค์เทพสุนฑเรศวร

เทศกาล (Festival)
นอกจากเทศกาลฉลองการเสกสมรสของทวยเทพแล้ว ยังมีเทศกาลอื่น ๆ อีกมากมายภายในวัด เช่น เทศกาลวสันต์ธรรม (Vasantham Festival) หรือ เทศกาลฤดูใบไม้ผลิ จัดขึ้นทุกปีในเดือนพฤษภาคม ใช้ระยะเวลาสิบวันและในวันสุดท้ายสำหรับผู้ที่ต้องการถวายนมและมะม่วงให้แด่องค์เทพ โดยอันเชิญองค์เทพสุนฑเรศวรขึ้นเกวียนแล้วแห่ไปยังศาลสถิตขององค์เทวีมีนักชีในตอนค่ำ และกลับไปยังศาลสถิตขององค์เทพสุนฑเรศวรในตอนเช้า เทศกาลอุลาล (Unjal Festival) หรือเทศกาลชิงช้า จัดขึ้นทุกปีในเดือนมิถุนายน ซึ่งองค์เทพสุนฑเรศวรและเทวีมีนักษีจะถูกเชิญขึ้นชิงช้าและเขย่าเบา ๆ ในห้องกระจก ซึ่งเทศกาลจะจัดในมณฑปร้อยเสาของเทวสถาน และเทศกาลในเดือนอื่นๆ เช่น
เทศกาลจิตถิไร (Chithirai Festival) จัดในเดือนเมษายน
เทศกาลอาฑิ มูลัม (Aadi Mulai Kottu Festival) จัดในเดือนกรกฎาคม
เทศกาสอาวานี มูลัม (Aavani Moolam Festival) จัดในเดือนสิงหาคม
# ทัวร์อินเดียใต้ # ทัวร์อินเดียใต้ # ทัวร์อินเดียใต้

รวมภาพ ทัวร์อินเดียใต้

ทัวร์อินเดียใต้
ทัวร์อินเดียใต้

ทัวร์อินเดียใต้
เทวาลัยมีนักษี

ทัวร์อินเดียใต้
เทวาลัยมีนักษี อัมมัน

ทัวร์อินเดียใต้
ทัวร์อินเดียใต้

ทัวร์อินเดียใต้
เทวาลัยพฤหธิศวร ในตันจาวูร์

ทัวร์อินเดียใต้
เทวาลัยศรี ชุมพูเกศวาระ ในเมืองติรุจิรปัลลิ

ทัวร์อินเดียใต้
ทัวร์อินเดียใต้

ทัวร์อินเดียใต้
บาซาร์เล็กๆ ภายในเทวาลัยมีนักษีสุนทเรศวร

ทัวร์อินเดียใต้
เทวาลัยชอร์ เมืองมหาบาลีปุรัม

Scroll to Top

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • เปิดใช้งานตลอด

บันทึกการตั้งค่า