ทัวร์อียิปต์ : หุบเขาแห่งกษัตริย์ Valley of The Kings

ทัวร์อียิปต์

ทัวร์อียิปต์ : หุบเขาแห่งกษัตริย์ Valley of The Kings

ทัวร์อียิปต์ : หุบเขาแห่งกษัตริย์ Valley of The Kings

หรือ วาดิ บิบัน อัล-มูลัค Wadi Biban al-Muluk ในภาษาอาหรับ ซึ่งเป็นสถานที่ฝังพระศพของฟาโรห์เกือบทั้งหมดในราชวงศ์ที่ 18, 19, และ 20 แห่งอาณาจักรใหม่ (ปกครองระหว่าง 1539-1075 ปีก่อนคริสตกาล) ตั้งแต่ฟาโรห์ทุตโมสที่ 1 จนถึง รามเซสที่ 1 ซึ่งตั้งอยู่บนเนินเขาด้านหลัง แหล่งโบราณสถานอียิปต์ “เดย์ร อัล-บาห์รี Dayr al-Baḥrī” ซึ่งมีสุสาน 62 แห่งที่เต็มไปด้วยความหลากหลาย ทั้งแบบแปลนและการตกแต่ง โดย ได้รับการขึ้นทะเบียนเป็นมรดกโลกจากองค์การยูเนสโก้ ในปี ค.ศ. 1979 ได้กำหนดให้หุบเขาแห่งกษัตริย์แห่งนี้เป็นแหล่งมรดกโลกของเมืองธีบส์โบราณ ซึ่งรวมถึงลักซอร์ หุบเขาราชินี และคาร์นัคด้วยเช่นกัน
ในอดีตสุสานหลวงแห่งนี้ได้รับความเสียหายอย่างหนักทั้งจากนักล่าสมบัติ น้ำท่วม และการเข้ามาของนักท่องเที่ยวจำนวนมหาศาล ทำให้เกิดคาร์บอนไดออกไซด์ การเสียดสีของผิวสัมผัส และความชื้นที่เกิดจากเหงื่อที่ผู้เข้าชมได้ทิ้งไว้ ส่งผลต่อภาพสลักนูนต่ำและสีของภาพวาดบนผนัง ต่อมากรมโบราณวัตถุของอียิปต์ได้ติดตั้งเครื่องลดความชื้นและกระจกในหลุมฝังศพที่ได้รับผลกระทบมากที่สุด และระบบหมุนเวียนอากาศมาใช้ในสุสานบ้างแห่งที่เปิดสาธารณะให้นักท่องเที่ยวเข้าชม
ในบรรดาฟาโรห์แห่งอาณาจักรใหม่ ซึ่งเกรงกลัวต่อความปลอดภัยในการฝังศพอันมั่งคั่งของตน จึงมีการสร้างแผนในการซ้อนหลุมฝังศพอย่างเร้นลับของตนไว้ในหุบเขา บนเนินเขาทางตะวันตกหลังแหล่งโบราณคดี เดย์ร อัล-บาห์รี ในหลุมฝังพระศพที่จมลึกลงไปในใจกลางภูเขา ฟาโรห์ถูกฝังไว้เช่นเดียวกับราชินีหลายองค์ โอรสจำนวนมากของฟาโรห์รามเสสที่ 2 รวมถึงข้าราชบริพารระดับสูงไม่กี่คน ซึ่งผังของหลุมศพแตกต่างกันมาก แต่หลักๆ แล้วจะประกอบไปด้วยทางเดินที่ลดหลั่นกัน โดยจะถูกขัดจังหวะด้วยช่องธนูลึกเพื่อขัดขวางพวกโจร และด้วยห้องที่มีเสาหรือห้องด้นหน้า ที่ปลายสุดชองทางเดินจะเป็นห้องฝังพระศพ ซึ่งมีโลงศพหินที่บรรจุมัมมี่หลวงของราชวงศ์วางอยู่ ห้องเก็บเครื่องเรือน และห้องเก็บเครื่องใช้ต่าง ๆ สำหรับฟาโรห์ใช้ในโลกหน้า
ผนังมักถูกปิดด้วยภาพแกะสลักและภาพวาดของฟาโรห์ที่สวรรคตต่อหน้าทวยเทพ โดยเฉพาะเทพแห่งยมโลก และมีภาพประกอบและข้อความเวทมนตร์ ที่พบในกระดาษปาปิรุสสำหรับงานศพ ซึ่งออกแบบมาเพื่อช่วยฟาโรห์ในการเดินทางผ่านยมโลก ซึ่งข้อความเหล่านี้บางส่วนเป็นความเชื่อที่แตกต่างแต่ไม่ขัดแย้งกับชีวิตหลังความตาย ซึ่งฟาโรห์ต้องผ่านการทดสอบและฝ่าฟันภยันตราย ตัวอย่างเช่น ใน “หนังสือแห่งสิ่งที่อยู่ในยมโลก Book of That Which Is in the Underworld” ฟาโรห์เดินทางในเรือของสุริยเทพ ผ่าน 12 ชั้นที่มี 12 ชั่วโมงในตอนกลางคืน และใน “หนังสือแห่งประตู Book of Gates” พรรณนาว่ามีงูยักษ์คอยปกป้องประตูที่ดวงอาทิตย์ต้องส่องผ่าน ขณะที่ปีศาจประหลาดช่วยหรือขัดขวางเรือระหว่างทาง ส่วนองค์ประกอบงานศพอื่นๆ ถูกอธิบายใน “หนังสือแห่งวัน Book of Day” และ “หนังสือแห่งราตรี Book of Night” ซึ่งพรรณนาถึง “เทพีนัต Nut Deity” เทพธิดาแห่งท้องฟ้า ที่แผ่กระจายไปทั่วสรวงสวรรค์ เช่นเดียวกับ “หนังสือแห่งวัวสวรรค์ Book of Heavenly Cow” ซึ่งเทพีนัตจะถูกเปลี่ยนรูปเข้าไปในวัวที่ เทพเจ้าเร จะเสด็จสู่ท้องฟ้า และมีตัวเลขทางดาราศาสตร์ประดับอยู่บนเพดานห้องฝังพระศพหลายห้อง
หลุมฝังศพแต่ละแห่งจะมีหมายเลขแสดงลำดับที่ค้นพบด้วยรหัส KV (Kings Valley) เช่น KV 1 เป็นของฟาโรห์รามเสสที่ 7 ถูกเปิดมาตั้งแต่สมัยกรีก-โรมัน KV 62 เป็นสุสานที่มีชื่อเสียงของฟาโรห์ตุตังคามุน ถูกค้นพบโดย โฮวาร์ด คาร์เตอร์ นักโบราณคดีชาวอังกฤษ เมื่อปี ค.ศ. 1922 ซึ่งคิดว่าน่าจะเป็นสุสานสุดท้ายที่ถูกค้นพบ แต่แล้วในปี ค.ศ. 2006 KV 63 ก็ถูกค้นพบพร้อมโลงเปล่าจำนวนหนึ่ง ซึ่งไม่แน่ใจว่าเป็นสุสานของราชวงศ์หรือห้องทำมัมมี่ KV 5 เป็นหลุมศพที่ใหญ่ที่สุดและซับซ้อนที่สุดในหุบเขากษัตริย์ ดูเหมือนจะสร้างขึ้นเพื่อเป็นห้องฝังพระศพของโอรสหลายพระองค์ของฟาโรห์รามเสสที่ 2 ซึ่งเป็นกษัตริย์ที่ยิ่งใหญ่ที่สุดของราชวงศ์ที่ 19 หลุมฝังพระศพนี้ถูกค้นพบก่อนหน้าแล้ว แต่ถูกมองว่าไม่มีนัยสำคัญ และถูกค้นพบอีกครั้งในช่วงปลายทศวรรษ 1980 และถูกขุดขึ้นมาบางส่วนในทศวรรษที่ 1990 โดยชั้นบนสุดของสุสานทั้งสองชั้นประกอบด้วยโถงกลาง ที่มีเสาหลักและทางเดินต่างๆ ที่นำไปสู่ห้องหลายสิบห้อง และ KV 20 เป็นหลุมฝังพระศพที่ยาวที่สุด ซึ่งเป็นของราชินีฮัตเซปซุต แห่งราชวงศ์ที่ 18 (ครองราชย์ราว 1478-1458 ปีก่อนคริสตกาล) โดยห้องฝังพระศพอยู่ห่างจากทางเข้าเกือบ 215 ม. และลึกลงไปในหิน 100 ม.
หลุมฝังพระศพเกือบทั้งหมดในหุบเขาถูกกวาดล้างในสมัยโบราณ บางส่วนถูกปล้นไปในช่วงอาณาจักรใหม่ แต่ทั้งหมดถูกปฏิเสธอย่างเป็นระบบ จากเนื้อหาในราชวงศ์ที่ 21 ว่าพยายามปกป้องมัมมี่ของราชวงศ์ และเป็นการนำทรัพย์สมบัติหลุมพระศพที่มั่งคั่งกลับมาใช้ใหม่ โดยนำเข้าคลังของราชวงศ์ ในสมัยของสตราโบ นักเดินทางชาวกรีกสามารถเช้าชมสุสานได้ 40 แห่ง ซึ่งถูกใช้ซ้ำโดยนักบวชชาวคอปติก ซึ่งทิ้งจารึกไว้บนผนัง มีเพียงหลุมเล็กๆ ชองฟาโรห์ตุตังคามุน ซึ่งตั้งอยู่บนพื้นของหุบเขาและได้รับการปกป้องด้วยกองหินที่ถล่มลงมาจากสุสานของฟาโรห์ราชวงศ์รามเสสในภายหลัง ทำให้รอดพ้นจากการปล้นสะดมได้ จริงๆ หลุมพระศพของฟาโรห์ตุตังคามุนไม่ได้โดดเด่นอะไร แต่ที่โด่งดังเนื่องจากความอลังการของพระมหาสมบัติอันล้ำค่าที่อยู่หลุมฝั่งศพของพระองค์ ที่ถูกขุดพบในปี ค.ศ. 1922 และปัจจุบันอยู่ในพิพิธฑภัณฑ์อียิปต์ในกรุงไคโร ซึ่งแสดงให้เห็นอย่างชัดเจนว่าการฝังพระศพขององค์ฟาโรห์ผู้ยิ่งใหญ่ ในยุครุ่งเรืองของจักรวรรดิต้องมั่งคั่งเพียงใด

Scroll to Top

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • เปิดใช้งานตลอด

บันทึกการตั้งค่า