ทัวร์อียิปต์ : เขื่อนใหญ่อัสวาน

ทัวร์อียิปต์ : เขื่อนใหญ่อัสวาน

ทัวร์อียิปต์ : เขื่อนใหญ่อัสวาน

เขื่อนใหญ่อัสวาน หรือ อัสวาน ฮายห์ แดม Aswan High Dam ที่หมู่ชาวอาหรับมักเรียกว่า อัล-ซาด อัล-อาลี แต่ผู้คนทั่วไปมักเรียกสั้น ๆ ว่า “ฮายห์ แดม High Dam” เป็นเขื่อนหินถมข้ามแม่น้ำไนล์ ได้ชื่อว่าเป็น หนึ่งในเขื่อนใหญ่ที่สุดในโลกที่มนุษย์สร้างขึ้น ตั้งอยู่ที่เมืองอัสวาน สร้างเสร็จในปี ค.ศ 1970 ใช้งบประมาณในการก่อสร้างประมาณ 1 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ

เขื่อนแห่งนี้สร้างคุณูประการให้กับชาวอียิปต์อย่างมากมาย ทั้งทางด้านเศรษฐกิจและสังคม โดยหลังสร้างเสร็จเขื่อนสามารถแก้ปัญหาการเอ่อล้นท่วมพื้นที่เป็นบริเวรกว้างตลอดแนวแม่น้ำไนล์ที่เกิดขึ้นทุกปี ทำให้ระบบชลประทานเกิดประโยชน์สูงสุด โดยสามารถกักเก็บและปล่อยน้ำมากมายพอรดพืชผลทางการเกษตรได้อีกหลายแสนเฮกตาร์ เขื่อนสามารถผลิตกระแสไฟฟ้าได้ 1 หมื่นล้านกิโลวัตต์/ชั่วโมงต่อปี และทำให้เกิดอุตสาหกรรมประมงภายในแอ่งเก็บน้ำอีกด้วย สร้างมูลค่าทางเศรษฐกิจให้กับประเทศอียิปต์มากมาย แต่ฮายห์ แดม แห่งนี้ก็สร้างผลกระทบด้านเศรษฐกิจอีกด้านรวมถึงวัฒนธรรมสำคัญของอียิปต์ด้วยเช่นกัน

เขื่อนมีความยาวของสันเขื่อน 3,830 ม. สูง 111 ม. สามารถกักเก็บน้ำได้ 44,300,000 ลบ.ม. แต่เมื่อรวมเข้ากับทะเลสาบนาสเซอร์ที่อยู่หน้าเขื่อน ทำให้มีความจุรวาม 169 พันล้านลบ.ม. อ่างเก็บน้ำลึก 90 ม. ทำให้สามารถแจกจ่ายให้กับประเทศอียิปต์ได้ประมาณ 55.5 พันล้านลบ.ม. และซูดานจะได้รับส่วนที่เหลือ
ในชณะที่เขื่อนอัสวานล่าง หรือ โลเวอร์ อัสวาน แดม Lower Aswan Dam เป็นเชื่อนอัสวานเดิมที่สร้างโดยบริษัทรับเหมาสัญชาติอังกฤษ เสร็จในปี ค.ศ. 1902 ห่างจากเขื่อนอัสวานปัจจุบันราว 6 กม. เคยชื่อว่าเป็น “เขื่อนใหญ่ที่สุดในโลก”มาแล้ว มีความยาวของสันเขื่อน 2,142 ม. มีประตูน้ำทั้งหมด 180 บาน สามารถกักเก็บน้ำได้ประมาณ 4.9 พันล้านลบ.ม.

ทัวร์อียิปต์

ทัวร์อียิปต์ : เขื่อนอัสวานที่ได้ชื่อว่าเป็นหนึ่งในเขื่อนใหญ่ที่สุดในโลก

ทัวร์อียิปต์ : เรือเฟลุคกะ ที่สามารถมองเห็นได้ทั่วไปในแม่น้ำไนล์

ผลกระทบทางวัฒนธรรมที่เกิดจากการสร้างเขื่อน
การสร้างเขื่อนทำให้ต้องย้ายที่ตั้ง มหาวิหารอาบูซิเบล ของอาณาจักรอียิปต์โบราณ ซึ่งต้องใช้ค่าใช้จ่ายที่ สูงมาก เพื่อไม่ให้หลักฐานทางวัฒนธรรมที่ประเมินค่าไม่ได้แห่งนี้ต้องจมหายไปในใต้น้ำตลอดกาล และทำให้ชาวนูเบียนดั้งเดิม (ชาติพันธุ์โบราณที่ถูกอ้างถึงตั้งสมัยกษัตริย์โซโลมอนของอิสราเอล) และชาวซูดานต้องย้ายออกจากถิ่นฐานเดิม โดยชาวอียิปต์ราว 50,000 คน ถูกส่งไปอยู่ที่หุบเขาคอม อมโบ ห่างไปทางทิศเหนือของเขื่อนราว 30 กม. เพื่อสร้างนิคมการเกษตรใหม่ เรียกว่า นูบาเรีย ในขณะที่ชาวซูดานต้องย้ายไปยังเมืองคาซัม อัล-ฆีร์บา ห่างไปทางทิศตะวันออกเฉียงใต้ ราว 1,400 กม.
นอกจากปัญหาการต้องย้ายถิ่นฐานดั้งเดิมของคนท้องถิ่นแล้ว เขื่อนฮายห์ แดม ยังลดความอุดมสมบูรณ์ของพื้นที่หลังเขื่อนในเวลาต่อมาด้วยเช่นกัน เนื่องจากเมื่อไม่มีน้ำท่วม ความอุดสมบูรณ์จากแร่ชาติต่าง ๆ ที่เคยพัดพามากับน้ำที่ท่วมก็หายไปด้วย ดินตะกอนไม่ได้ถูกทับถมในพื้นที่เพาะปลูกเดิมอีกต่อไป และการใช้ปุ๋ยประดิษฐ์กว่า 1 ล้านตันต่อปีก็ไม่เพียงพอสำหรับการทดแทนดิน 40 ล้านตันที่เคยสะสมไว้ทุกปีจากการท่วมของแม่น้ำไนล์

สอบถามโปรโมชั่นทัวร์อียิปต์ Line ID : beejourney
Scroll to Top

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • เปิดใช้งานตลอด

บันทึกการตั้งค่า