ทัวร์เนปาล : หิรัญวรรณมหาวิหาร Hiranya Varna Mahavihar หรือ วัดทองคำ Golden Temple

ทัวร์เนปาล

ทัวร์เนปาล : หิรัญวรรณมหาวิหาร Hiranya Varna Mahavihar หรือ วัดทองคำ Golden Temple

ทัวร์เนปาล : หิรัญวรรณมหาวิหาร Hiranya Varna Mahavihar หรือ วัดทองคำ Golden Temple

หิรัญวรรณมหาวิหาร เป็นวัดในศาสนาพุทธในเมืองปาฏัน สร้างด้วยรูปแบบสถาปัตยกรรมสไตล์ลบาฮาลซึ่งเป็นของชาวนีวะรี ตามตำนานกล่าวว่า เจดีย์พระพุทธศากยมุนีทองคำ ที่ประดิษฐานอยู่ในวัด สร้างขึ้นโดยกษัตริย์ภาศกร วรมัน ในศตวรรษที่ 12 โดยภายในเจดีย์ชั้นบมีภาพและกงล้อมนต์ทองคำเก็บรักษาไว้

ประตูทางเข้าหลัก

วัดมีทางเข้าหลักอยู่ทางทิศตะวันออกเฉียงใต้ของถนนควาลาขุ โดยประตูหลักสร้างเป็นซุ้มหินสีดำลอยตัวที่เรียกว่าโตรณะ (ซุ้มทรงมาลัย) ยอดแหลมหลังคาเป็นเจดีย์ทรงระฆังคว่าแบบทิเบต ที่ตกแต่งอย่างวิจิตร ขนาบด้วยสิงโตหินตัวผู้และตัวเมียคู่ พร้อมกับภาพนูนต่ำของพระไภวะและจารึกหลายภาษา เพดานซุ้มโตรณะแกะสลักเป็นรูป กาลจักรมณฑล Kalachakra Mandala มีความหมายว่า กงล้อแห่งกาลเวลา และเป็นชื่อของเทพองค์แรกที่สถิตอยู่ในจักรวาลแห่งกาลจักร มีผิวสีดำที่แสดงถึงความมืดมิดของจักรวาล มีสีหน้าคือดำ ขาว เหลือง และแดง มีสิบสองแขน ยี่สิบสี่กร มีวัชระ (สายฟ้า) เป็นอาวุธ และในทางพุทธศาสนา กาลจักร ก็คือ เวลานั่นเอง

ผนังด้านซ้ายสู่ทางเดินเปิดของซุ้มโตรณะมีจะมีน้ำพุตุเตธารา Tutedhara ซึ่งเป็นน้ำพุสำหรับให้ดื่มกิน แต่ปัจจุบันไม่ได้ใช้แล้ว ประตูท้ายของซุ้มประดับด้วยลวยลายอันวิจิตรงดงาม นอกเหนือจากประติมากรรมในพระพุทธศาสนาที่มีอยู่มากมาย ก็ยังมีประติมากรรมฮินดูปรากฎให้เห็นบ้างเล็กน้อย เช่น คันทวยรองรับหลังคาที่แกะสลักเป็นภาพอวตารของพระวิษณุและองค์ศิวเทพ

ที่ซุ้มโตรณะที่สองจะนำไปสู่ห้องโถงเล็กๆ ที่บนผนังมีรูปปั้นมหากาลและพระพิฆเนศ ซึ่งเป็นองค์เทพผู้พิทักษ์เทพองค์อื่นๆ ภายในหุบเขากาฐมัณฑุ ซึ่งมักจะพบรูปเคารพนี้ได้เป็นประจำที่บริเวรทางเข้าวิหาร ซึ่งมีหอระฆังอยู่ด้านบนของประตูนี้ ด้านข้างลานทางเข้าจะขนาบด้วยรูปสลักของช้างทองสองตัวยืนบนเต่า เหนือซุ้มประตูโตรณะเป็นเงิน ซึ่งซุ้มเดิ่มที่เป็นทองแดงปิดทองถูกเก็บอยู่ที่ศาลหลักของวัด โดยกษัตริย์พริธวี พีระ พิกราม ชาห์ ทรงเป็นราชูปถัมภ์

ประติมากรรรม

เมื่อเดินเข้าสู่ลานจะพบประติมากรรมรูป ธรรมธาตุมณฑล Dharmadhatu Mandala บนแท่นดอกบัวและมีวัชระอยู่ด้านบน โดยมีหลังคาประดับด้วยวงล้มมนตราติดอยู่ฐานรองรับ ซึ่งมีวัชระขนาดใหญ่ประดับอยู่ฝั่งตรงข้ามของลานหน้าศาลหลัก ถัดจากหลุมไฟ นอกจากนี้ยังมีประติมากรรมอีกหลายชิ้นที่ประดับอยู่ภายในลาน เช่น รูปพระปัทมปาณีโลเกศวรทั้งสามมุมของเฉลียงลาน รูปเคารพของพระโพธิสัตว์มัญชูศรี และรูปปั้นสิงโตสี่ตัวตั้งอยู่ด้วย

สวยัมภูสถูป Swayambhu Stupa

ตรงกลางลานมีเจดีย์สวยัมภูประดิษฐานอยู่ เชื่อกันว่ามีอายุเก่าแก่กว่าวิหารทองคำ มีประตูสี่บาน แต่ละประตูมีซุ้มโตรณะ ยกเว้นประตูตรงข้ามศาลหลักเท่านั้น และบริเวณราวระเบียงรอบเจดีย์มีรูปเคารพของพระโพธิสัตว์ 12 องค์และพระพุทธรูป 4 องค์ประดิษฐานทั้งสี่มุมของวิหาร โดยมีสัตว์ในวรรณคดีโลหะคอยปกปักษ์รักษาอยู่
มีการพิธีราดน้ำนมปีละครั้งที่เจดีย์ น้ำนมไหลผ่านพวยด้านนอกของราวระเบียง และไหลตกลงบนหินแกะสลักรูปพญาวาสุกีนาคราช ราชาของเหล่าพญานาค

พระอุโบสถ หรือ วิหารหลัก Main Temple

เป็นอาคารสี่ชั้นตั้งอยู่ตรงข้ามลาน มีเฉลียงปิดทอง ด้านหน้าอุโบสถกว้างและเต็มไปด้วยรูปเคารพปิดทองและอิฐสลักลวดลาย หน้าพระอุโบสด้านล่างประดับด้วยภาพพุทธประวัติ เหนือขึ้นไปเป็นภาพนูนต่ำองค์เล็กๆ ของพระพุทธเจ้าห้าพระองค์ รวมกับอีกสองพระองค์ด้านนอก ซึ่งเหนือภาพนูนต่ำทั้งเจ็ดมีพระพุทธรูอีกห้าแถวขนาบด้วยภาพนูนต่ำของพระโพธิสัตว์ตารา เหนือหลังคาชั้นแรกมีภาพนูนต่ำของพระรัตนตรัย และหลังคาชั้นที่หนึ่งและสองมีคันทวยสลักเป็นรูปพระพุทธรูปปางมารวิชัย ยอดหลังคาชั้นที่สองประดับด้วยเจดีย์โลหะเก้ายอด ยอดหลังคาชั้นที่สามประดับด้วยเจดีย์โลหะสามสิบองค์ โดยเจดีย์องค์กลางประดับด้วยฉัตรห้ายอดสามคัน มีธงสายที่มีพระพักตร์พระโพธิสัตว์สี่ผืนห้อยยาวลงมาจากชายหลังคา

ธรณีประตูโลหะของวิหารพระศากยมุนีองค์หลักปางสมาธิศิลปะทิเบต ซึ่งเป็นส่วนที่อนุญาตเฉพาะภิกษุกับครอบครัวผู้ดูแลวัดชาวนีวะร์ ประดับด้วยรูปหล่อพระโพธิสัตว์โลเกศวรทั้งซ้ายขวาตั้งเหนือรูปภาพนูนต่ำของสิงโตซ้ายขวาและช้างตรงกลาง เสาโลหะประดับข้างธรณีประตูมีรูปหล่อมังกรทองเหลืองขดรอบเสาซ้ายขวาเหนือขึ้นไปเป็นพระพุทธรูปนูนต่ำ

เหนือประตูสู่ด้านในวิหารเป็นซุ้มโตรณะเงิน ที่ประดับด้วยภาพนูนต่ำของพระพุทธเจ้าห้าพระองค์กับพระวัชรสัตว์ ซึ่งได้จำลองมาจากโตรณะทองแดงปิดทองดั้งเดิมที่เคยตั้งอยู่ทางเข้าหลักแต่มีขนาดเล็กกว่า ที่ทับหลังใต้โตรณะเหนือประตูทางเข้า เป็นภาพนูนต่ำของพระเจ้าสามพระองค์ คือ พระอมิตาภะ พระรัตนสัมภวะ และพระอโมฆสิทธิ

พระศากยมุนี ที่คนท้องถิ่นเรียกว่า ควาบาชุ เป็นพระพุทธรูปเงินองค์ใหญ่คลุมด้วยผ้าและประดับเครื่องทรง ยกเว้นพระพักตร์ นอกจากนี้ภายในวิหายยังมีรูปหล่อมากมาย และที่น่าสังเกตคือ มีรูปหล่อของพระพลรามซึ่งเป็นพระเชษฐาของพระกฤษณะ ซึ่งบางคนอ้างว่าเป็นรูปหล่อของพระวัชรธาราซึ่งเป็นพระพุทธเจ้าองค์แรก

ในขณะที่พระผู้ทำพิธีต่างๆในวัดเป็นเด็กที่จะผลัดเปลี่ยนทุกปี โดยมีอายุน้อยกว่า 12 ปีเสมอ ซึ่งจะมีผู้ช่วยพระที่โตกว่าหรือเด็กหนุ่มสิบสองคนค่อยช่วยเหลือ พิธีกรรมอย่างหนึ่งของพระคือการเดินเวียนรอบพระวิหารวันละ 2 รอบ พร้อมสั่นกระดิ่ง เช้าและเย็น ตอนท้ายของแต่ละปี ผู้ช่วยพระทั้งสิบสองคนจะจัดงานเลี้ยงที่นัคบาฮาลและทุกห้าปีพวกเขาจะรับผิดชอในการจัดงานเทศกาลสมยัคซึ่งเป็นงานประจำปีที่วายแด่พระพุทธเจ้าทีปังกร

วัดแห่งนี้เป็นที่ประดิษฐานของพระปรัชญาปรมิตาศักดิ์สิทธิ์อายุเก่าแก่กว่า 800 ปี ที่ได้รับการบูรณะทุกๆ 3 ปี โดยครั้งสุดท้ายในเดือนกันยายน 2020 และการท่องมนต์ปรัชญาปรมิตาคนท้องถิ่นมักนิยมท่องในโอกาสพิเศษต่างๆ เช่น งานแต่งงาน คนในครอบครัวป่วย ซึ่งในเมืองปาตันประเพณีการท่องมนต์ปรัชญาปรมิตามีการสวดมากว่า 400ปีแล้ว โดยวัดวิรัญวรรณะมหาวิหารเป็นหนึ่งในสี่แห่งในเนปาลที่สามารถเข้าสักการะได้ และมีอยู่แห่งเดียวในปาฏัน

Scroll to Top

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • เปิดใช้งานตลอด

บันทึกการตั้งค่า