ราชาสถาน
เที่ยวอินเดีย : ราชาสถาน
แคว้น ราชาสถาน เรียกอีกอย่างว่าเมืองมหาราชา เป็นรัฐที่ใหญ่ที่สุดของอินเดีย มีพื้นที่ 342,239 ตารางกิโลเมตร หรือ 10.4% ของพื้นที่ทั้งหมดของประเทศอินเดีย ราชาสถาน ตั้งอยู่บนฝั่งตะวันตกของประเทศซึ่งจะประกอบด้วยทะเลทรายธาร์ นอกจากนี้ ราชาสถาน ยังเป็นที่รู้จักในฐานะ “รัฐ ราชสถาน ทะเลทราย” และ “มหาทะเลทรายอินเดีย” อีกด้วย นอกจากนี้ ราชาสถาน ยังมีบางส่วนอยู่ติดกับชายแดนปากีสถาน
ราชาสถาน ล้อมรอบด้วยรัฐของอินเดียอื่นๆ เช่น คุชราตไปทางทิศใต้ รัฐมัธยประเทศไปทางทิศใต้ อุตตรประเทศและรัฐหรยาณาการภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ลักษณะของ ราชาสถาน โดยรวมจะมีองค์ประกอบของ ซากสิ่งก่อสร้างโบราณ รอยอารยธรรมเก่าแก่ เช่น อารยธรรมลุ่มแม่น้ำสินธุ ราชาสถาน มีวัดสถานที่แสวงบุญวัดเชน ราชาสถาน ยังมีเนินเขาอาบู (Mount Abu) อันเป็นเทือกเขาที่กว้างใหญ่และเห็นวิวสวยงามไกลสุด
รัฐ ราชาสถาน สร้างขึ้นเมื่อวันที่ 30 มีนาคม 1949 โดยราชวงศ์ราชปุตและเป็นรัฐที่ยิ่งใหญ่มีบทบาทสำคัญของประเทศอินเดีย โดยถึงแม้ประเทศอินเดียจะมีอังกฤษเข้ามายึดครองแล้ว รัฐ ราชาสถาน ก็ยังโดดเด่นและมีบทบาทสำคัญเป็นอย่างมาก ไม่เหมือนแคว้นอื่นๆของอินเดีย
สถานที่ท่องเที่ยว ราชาสถาน เมืองชัยปุระ
1.เมืองชัยปุระ ราชาสถาน : หรือ จัยปูร์ (Jaipur) นครแห่งชัยชนะ คนอินเดียเรียกเมืองนี้ว่า จัยปูร์ หรือ จัยเปอร์ รัฐ ราชสถาน ได้ชื่อว่า นครสีชมพู (Pink city) โดยที่มาของ ราชสถาน เมืองสีชมพูก็เนื่องจากมหาราช ซาราม ซิงห์ (Maharaja Ram Singh) ได้มีรับสั่งให้ประชาชนชาว ราชสถาน ทาสีชมพูทับบนสีปูนเก่าของบ้านเรือนตนเอง เพื่อแสดงถึงไมตรีจิตครั้งต้อนรับการมาเยือนของเจ้าชายแห่งเวลส์ (Prince of Waies) เจ้าชายมกุฎราชกุมารของอังกฤษ (กษัตริย์เอ็ดเวิร์ดที่ 7) แห่งสหราชอาณาจักรและต่อมารัฐบาลอินเดียก็ยังออกกฎหมายควบคุมให้สิ่งก่อสร้างภายในเขตกำแพงเมืองเก่าชัยปุระ ราชสถาน ต้องทาสีชมพู จนกลายเป็นสิ่งที่เชิดหน้าชูตาและทำให้นักท่องเที่ยวจากทั่วทุกมุมโลก ต่างพากันเดินทางมายังเมืองชัยปุระอย่างไม่ขาดสาย
ชัยปุระ แห่งรัฐ ราชสถาน แปลว่า “เมืองแห่งชัยชนะ” สร้างขึ้นในปี ค.ศ. 1727 ตรงกับสมัยของมหาราชาสไว จัย สิงห์ที่ 2 (Maharaja Sawai Jai Singh ll) ซึ่งสืบเชื้อสายมาจากราชปุต ราชวงศ์กาญจวาหา (Kachchwaha) โดยมหาราชาของชัยปุระ แห่ง ราชสถาน จะต้องมีคำนำหน้าว่า สะหวาย (Sawai) ทุกพระองค์ ซึ่งคำนี้มีที่มาจากเมื่อครั้งท่านจัย ซิงห์ที่ 2 ยังไม่ได้ขึ้นสืบทอดตำแหน่งมหาราชต่อจากพระบิดา โดยถูกส่งเข้าไปเรียนรู้งานในราชสำนักของจักรพรรดิออรังเซบ (Emperor Aurangzab) แห่งราชวงศ์โมกุล
สำหรับกลุ่มราชปุตราชวงศ์นี้เป็นราชวงศ์แรกๆ ที่สร้างสัมพันธไมตรีกับราชวงศ์โมกุลของจักรพรรดิอัคบาร์ โดยมหาราชามาน ชิงห์ที่ 1 (Maharaja Man Singh l) ทรงยกน้องสาวให้อภิเษกกับจักรพรรดิอัคบาร์ ทำให้ชัยปุระมีความแข็.แกร่งร่ำรวยมากยิ่งขึ้นไปอีกกลายเป็นเมื่องที่ยิ่งใหญ่ที่สุดในแคว้น ราชสถาน
ทั้งนี้มหาราชสไว จัย สิงห์ที่ 2 ทรงเป็นนักปกครองที่ทรงมองการณ์ไกลและฉลาดปราดเปรื่อง โดยพระองค์ตัดสินพระทัยย้ายราชธานีจากพระราชวังบนป้อมแอมเมอร์ ย้ายมายังเมืองชัยปุระ ราชสถาน เพื่อรองรับการเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจ และได้มีการการออกแบบผังเมืองแบบผสมผสานระหว่างความทันสมัยและความเชื่อแบบ ฮินดู โดยเมืองชัยปุระได้รับการออกแบบให้มีพื้นที่เป็นรูปสี่เหลี่ยมเรียงต่อกัน 9 ช่อง แล้วตัดด้วยถนนกว้างเป็นตารางหมากรุก และมีพระราชวังซิตี้พาเลซ (City Palace) ตั้งอยู่ตรงกลางกินพื้นที่เกือบ 4 ส่วนใน 9 ของเมือง นับเป็นรูปแบบการวางผังเมืองที่มีเอกลักษณ์ และทันสมัยมีระบบอย่างยิ่งเมื่อเทียบกับเมืองอื่นๆใน ราชสถาน
ปัจจุบันเมืองชัยปุระเป็นศูนย์กลางทางการค้าซึ่งทันสมัยสุดของรัฐ ราชสถาน แถมยังมีประชากรหนาแน่นเกือบ 3 ล้านคน สิ่งที่น่าสนใจในเมืองชัยปุระคือ ผังเมืองเก่า และสิ่งก่อสร้างดั้งเดิม รวมทั้งประตูเมืองซึ่งยังคงอยู่ในสภาพสมบูรณ์ นอกจากนี้สีชมพูของเมืองก็กลายเป็นเอกลักษณ์ จนทำให้เมืองนี้เป็นจุดหมายของนักท่องเที่ยวจากทั่วโลก
ราชสถาน : นอกจากเมืองชัยปุระจะมีสีชมพูที่สร้างความโดดเด่น มีพระราชวังซิตี้พาลเลซที่กว้างใหญ่โอ่โถง ในบริเวณเขตเมืองเก่ายังมี “โซปาร์” (Chapar) เป็นจัตุรัสสำคัญของเมืองเก่ามาตั้งแต่อดีต เนื่องจากเป็นจุดนัดพบและแหล่งจับจ่ายสินค้าราคาแพง เช่น ชุดแต่งงาน เครื่องประดับ และอัญมณี
ราชสถาน สถานที่เที่ยวสำคัญในชัยปุระ ราชสถาน
- ราชาสถาน ชัยปุระ : พระราชวังซิตี้พาเลซ (City Palace)
ซิตี้พาลเลซ ตั้งอยู่บริเวณถนน Hawa Mahal Bazar ซึ่งครอบคลุมพื้นที่ถึง 1 ใน 7 ของใจกลางเมือง สร้างขึ้นในสมัยมหาราชาสไว จัย ซิงห์ที่ 2 ได้รับการดูแลต่อเติมโดยมหาราชาของชัยปุระรุ่นต่อๆ มา ที่สำคัญตอนเริ่มก่อสร้างพระราชวัง ยังอยู่ในช่วงที่ราชวงศ์โมกุลเข้ามามีอิทธิพลต่อรัฐ ราชสถาน สถาปัตยกรรมจึงมีการผสมผสนระหว่างแบบราชปุต แห่ง ราชสถาน กับราชวงศ์โมกุล นอกจากนี้ การออกแบบพื้นที่ใช้สอยอาคารอย่างลงตัว ไม่แน่นทึบ และมีทางเดินกว้างขวาง ซึ่งถือเป็นความน่าสนใจอย่างหนึ่งของพระราชวังแห่งนี้ โดยปัจจุบันพระราชวังซิตี้พาเลซได้เปิดให้ประชาชนเข้าชมในนามของพิพิธภัณฑ์ สไว มานสิงห์ (Sawai Man Singh Museum) แม้ยุคนี้จะไม่มีมหาราชาอีกต่อไป แต่ซิตี้พาลเลซก็ยังเป็นสมบัติส่วนพระองค์ และชาวเมืองชัยปุระบางส่วนก็ยังนับถือพระองค์อยู่
- ราชาสถาน ชัยปุระ : หอดูดาวจันตาร์มันตาร์ (Jantar Mantar)
จัดว่าเป็นสถานที่ท่องเที่ยวสำคัญของเมืองชัยปุระ ราชสถาน โดยได้รับการประกาศจากองค์การยูเนสโกให้เป็นมรดกโลกในปี ค.ศ. 2010 สร้างและคิดค้นขึ้นโดยมหาราชาสไว จัย สิงห์ที่ 2 ด้วยทรงมีความสนพระทัยและพระปรีชาในเรื่องดาราศาสตร์ จึงได้ทรงรับสั่งให้สร้างหอดูดาวแห่งนี้ขึ้นมาพร้อมๆ กับการก่อสร้างพระราชวังซิตี้พาเลซ เพื่อใช้ดูความเคลื่อนไหวของพระอาทิตย์ พระจันทร์ และดวงดาว โดยหอดูดาวจันตาร์มันตาร์แห่งนี้ ถือได้ว่าเป็นเครื่องมือสำคัญในสมัยโบราณ เนื่องจากจะใช้คำนวนฤกษ์เวลาในการออกรบอีกด้วย
- ราชาสถาน ชัยปุระ : ฮาวา มาฮาล (Hawa Mahal)
ฮาวา มาฮาล ตั้งอยู่ในชัยปุระ ราชสถาน ฮาวามาฮาล แปลว่า วังแห่งสายลม หรือเรียกว่า วังรับลมก็เห็นจะได้ในเมืองใหญ่แทบทุกเมืองของอินเดียตอนเหนือมักมีสถานที่ก่อสร้างที่เรียกว่า ฮาวา มาฮาล แต่ลักษณะแตกต่างกันไปตามศิลปะของเมืองนั้นๆ ซึ่ง ฮาวา มาฮาลของชัยปุระสร้างขึ้นเมื่อปี 1799 โดย มหาราชาสไว ประทับ สิงห์ (Sawai Pratap Shingh) ออกแบบให้มีลักษณะเหมือนมงกุฎของพระกฤษณะ ซึ่งเป็นอวตารภาคหนึ่งของพระนารายณ์หรือพระวิษณะ เพราะมหาราชาสไว ประทับ สิงห์ เคารพบูชาพระกฤษณะเป็นอย่างยิ่ง
ตัวอาคารของ ฮาวา มาฮาล แห่ง ชัยปุระ ราชสถาน นั้นมีความสูง 5 ชั้น สร้างอยู่บนกำแพงของพระราชวังหลวงใจกลางเมือง มีลักษณะพิเศษคือมียอดสูงเหมือนมงกุฎ มีการตกแต่งโดยใช้หินอ่อนสีสันแตกต่างกันประดับประดาแต่ละห้อง สามชั้นบนสุดมีลักษณะห้องโถงกว้าง ส่วนชั้นหนึ่งและชั้นสองมีเฉลียงอยู่ด้านหน้าและด้านหลัง มองดูคล้ายรังผึ้งที่มีโพรงเล็กๆอยู่เต็มไปหมด โพรงเล็กๆที่ปรากฎนี้ที่จริงแล้วคือหน้าต่างบานเล็กที่มีมากถึง 953 บาน วัตถุประสงค์เพื่อให้เป็นหน้าต่างเพื่อให้สาวๆในวังมองลอดออกไป โดยที่คนภายนอกจะไม่สามารถมองเห็นสาวๆข้างในได้เลยนั่นเอง ฮาวา มาฮาล ก็เป็นอีกหนึ่งสิ่งก่อสร้างสวยงามและอัศจรรย์ใจของ ราชสถาน ที่ต้องมาเยือนชัยปุระ ก็จะได้เก็บความความยิ่งใหญ่สวยงาม รัฐ ราชสถาน ได้อย่างเต็มที่
ราชาสถาน
ราชาสถาน
ราชาสถาน
ราชาสถาน
ราชาสถาน
ราชาสถาน
ราชาสถาน
ราชาสถาน
สถานที่เที่ยวใน ชัยปุระ ราชาสถาน ยังมีอีกมากมาย ท่านที่สนใจในความเป็นอินเดีย ความเป็นรัฐ ราชาสถาน สามารถแวะเวียนสถานที่ต่างๆเหล่านี้ได้
- ชัยปุระ ราชาสถาน : พระตำหนักมูบารักมาฮาล (Mumarak Mahal)
- ชัยปุระ ราชาสถาน :ป้อมไจการห์ (Jaigarh Fort)
- ชัยปุระ ราชาสถาน :ป้อมนราห์การห์ (Naharagrh Fort)
- ชัยปุระ ราชาสถาน :รัมบักห์พาเลซ (Rambagh Palace)
- ชัยปุระ ราชาสถาน :อนุสรห์สถานมหาราชาแห่งชัยปุระ (Royal Gaiotor)
- ชัยปุระ ราชาสถาน :อิซร์ลัต (Isar Lat)
- ชัยปุระ ราชาสถาน :อัลเบิร์ตฮอลล์ (Albert Hall)
- ชัยปุระ ราชาสถาน :เบียร์ล่ามันเดียร์ (Birla Mandir)
ราชาสถาน
ราชาสถาน
2.โชธปูร์ Jodhpur หรือเมืองแห่งพระอาทิตย์ Sun City เพราะมีแสงแดดส่องตลอดทั้งปี หรืออีกสมญานาม เมืองสีฟ้า Blue City เนื่องจากมีบ้านเรือนที่ทาด้วยสีฟ้าสดใสรอบโดยรอบป้อมเมห์รันการ์ห Mehrangarh Fort โชธปูร์เป็นเมืองใหญ่เป็นอันดับสองของรัฐราชาสถาน รองจากเมืองชัยปูร์ ที่นี่เป็นหนึ่งในเมืองท่องเที่ยวที่สำคัญของอินเดียและแคว้น ราชาสถาน ที่เต็มไปด้วยพระราชวัง ป้อมปราการ และเทวาลัยหรือวัดมากมาย
สถานที่เที่ยวสำคัญ
พระราชวังอุมาอิด ภาวัน Umaid Bhawan Palace ได้ชื่อว่าเป็นหนึ่งในที่พักอาศัยส่วนตัวที่ใหญ่ที่สุดในโลกและตกแต่งวิจิตรบรรจงมากใสราชาสถาน ปัจจุบันอยู่ในเครือโรงแรมตาจ Taj Hotel ชื่อพระราชวังนี้ได้มาจาก มหาราชา อุมาอิด ซิงห์ Maharaja Umaid Singh พระอัยกาของทายาทราชตระกูลปัจจุบันของพระราชวังนี้ เดิมระหว่างการก่อสร้างมีการเรียกว่าพระราชวังแห่งนี้ว่า พระราชวังจิตตาร์ (Chittar Palace) เนื่องจากตั้งอยู่บนเนินเขาจิตตาร์ ซึ่งเป็นจุดที่สูงที่สุดของเมืองโชธปูร์ ของราชาสถาน ภายในพระราชวังมี 347 ห้องและแต่ก่อนเคยใช้เป็นที่ประทับของราชตระกูลโชธปูร์
ป้อมเมห์ราการห์ หรือโชธปูร์ กา กิล่า (Jodhpur ka kila ) ตั้งอยู่ในใจกลางเมืองเก่าของโชธปูร์ ของราชาสถาน ตั้งเหนือเนินเขา 125 เมตร ซึ่งเป็นป้อมปราการที่ใหญ่ที่สุดในอินเดียและแคว้นราชาสถาน สร้างขึ้นในปีค.ศ.1459 โดยราโอ โชธา Rao Jodha ผู้ก่อตั้งเมืองนี้ สิ่งต่างๆ ที่ป้อมปราการแห่งยังหลงเหลือไว้ให้เราได้ชื่นชมความยิ่งใหญ่และงดงามวิจิตรมาก จะอยู่ในยุคของชัสวาน ซิงห์ Jaswan Singh ซึ่งเป็นผู้ปกครองเชื้อสายราชบุตร Rajput ในราชตระกูลราธอร์ Rathore ที่เคยมีอำนาจเหนือดินแดนปากีสถานและอินเดียแถบรัฐราชัสถานและปัญจาบ พิพิธภัณฑ์ป้อมแห่งนี้มีของเก่าเก็บสะสมมากมาย เช่น เกี้ยวหาม ราชอาสน์ทรงช้าง แปลหลวง เครื่องประดับชิ้นเล็กชิ้นน้อย เครื่องดนตรี อาภรณ์และเฟอร์นิเจอร์ เป็นต้น
3.อุทัยปูร์ Udaipur หรือเมืองแห่งทะเลสาบ City of Lake เคยเป็นเมืองหลวงของอาณาจักรเมวาร์ Mewar ของราชวงศ์ราชบุตร ก่อตั้งโดยมหาราณะ อุทัย ซิงห์ ที่ 2 เป็นเมืองหลวงสุดท้ายของอาณาจักรเมวาร์ ซึ่งมีเรื่องเล่าว่าขณะที่มหาปุราณะ อุทัย ซิงห์ ที่ 2 ได้พบกับฤษีขณะที่ออกล่าสัตว์ที่ตีนเขาของแนวเขาอราวัลลี Aravalli range ได้ฤษีอวยพรแก่พระองค์และบอกให้สร้างพระราชวังบนเนินเขานี้ ซึ่งจะช่วยป้องกันเมืองได้ดี ซึ่งพระองค์ก็ตอบรับและสร้างพระราชวังบนเนินเขานี้ ต่อมาเมื่อจักรพรรดิอักบาร์แห่งราชวงศ์โมกุลได้เคลื่อนทัพมาตีป้อมจิตตาร์ Chittar Fort พระเจ้าอุทัย ซิงห์จึงก็ได้ย้ายเมืองหลวงมาอยู่พระราชวังแห่งนี้ กลายเมืองอุทัยปูร์ในปัจจุบัน
สถานที่เที่ยวสำคัญ
ป้อมชิทอร์การ์ท ป้อมปราการขนาดใหญ่มหึมาบนภูเขาที่รัฐราชสถาน ประเทศอินเดียชื่อว่าป้อม Chittorgarh Fort เรียกสั้นๆว่า Chittor เป็นป้อมปราการใหญ่ที่สุดในประเทศอินเดีย
ทะเลสาบปิโจลา Pichola Lake ที่อดีตบริเวณรอบ ๆ ทะเลสาบเคยเป็นเส้นทางขนส่งเมล็ดข้าวของชาวเบนชารีพื้นถิ่น ทะเลสาบแห่งนี้ล้อมรอบด้วยเทวาลัย พระราชวัง เนินเขากษัตริย์ และท่าอาบน้ำ ทะเลสาบในเมืองอุทัยปูร์มีมากมายแต่ สิ่งที่แตกต่างกว่าที่อื่นของทะเลสาบปิโจล่ะแห่งนี้คือ เป็นทะเลสาบที่ใหญ่ที่สุดในอุทัยปูร์ มากไปกว่านั้นเราจะได้เห็นภาพเหล่าผู้ศรัทธามากมายประกอบพิธีกรรมทางศาสนาในบริเวณเทวาลัยรายล้อมอยู่รอบทะเลสาบนี้ด้วย