ไบคาลน้ำแข็ง : ปรากฏการณ์ บลูไอซ์ มหัศจรรย์อันงดงามบนผืนน้ำแข็งในทะเลสาบไบคาล
ทะเลสาบไบคาลมีความงดงามที่แตกต่างกันไปตามฤดูกาล และ “ไบคาลน้ำแข็ง” หรือช่วงฤดูหนาวของทะเลสาบไบคาล ที่มีชื่อเฉพาะว่า “วินเทอร์ ไบคาล (Winter Baikal)” เป็นช่วงเวลาของความสนุกสนานกับกิจกรรมหลากหลายรูปแบบบนพื้นผิวทะเลสาบไบคาลที่เป็นแผ่นน้ำแข็งหนา
"วินเทอร์ ไบคาล" ปราฏการณ์ทางธรรมชาติอันงดงามบนทะเลสาบไบคาลน้ำแข็ง ("Winter Baikal", a beautiful natural phenomenon on the frozen Lake Baikal)
“วินเทอร์ ไบคาล (Winter Baikal)” เป็นดินแดนในเทพนิยายที่แท้จริง ตื่นตากับแผ่นน้ำแข็งใสบริสุทธิ์ ท่ามกลางแสงแดดสดใสที่สามารถทำให้คุณมีผิวสีแทนได้ แม้ว่าอุณหภูมิโดยรอบจะเป็นอุณหภูมิเยือกแข็ง ในแต่ละปีนักท่องเที่ยวจะมาเยือนปรากฏการณ์ “ไบคาลน้ำแข็ง” อย่างมากมายในช่วงเวลานี้
ทะเลสาบไบคาลเป็นหนึ่งในสถานที่พักผ่อนยอดนิยมในดินแดนไซบีเรียตะวันออกของรัสเซีย ที่นักท่องเที่ยวสามารถเดินทางไปสัมผัสความมหัศจรรย์ได้ทั้งปี ทะเลสาบไบคาลได้ชื่อว่าเป็น “ทะเลสาบน้ำจืดที่ลึกที่สุดในโลก” และเป็น “ทะเลสาบที่บริสุทธิ์ที่สุดในโลก” ด้วยเช่นกัน ทะเลสาบไบคาลตั้งอยู่ท่ามกลางธรรมชาติและรายล้อมด้วยแนวทิวเขาอันสวยงาม และทะเลสาบไบคาลได้รับการขึ้นทะเบียนขององค์การยูเนสโก้ประเภท มรดกโลกทางธรรมชาติ ในปี ค.ศ. 1996
ทะเลสาบไบคาลมีความงดงามที่แตกต่างกันไปตามฤดูกาล และ “ไบคาลน้ำแข็ง” หรือช่วงฤดูหนาวของทะเลสาบไบคาล ที่มีชื่อเฉพาะว่า “วินเทอร์ ไบคาล (Winter Baikal)” เป็นช่วงเวลาของความสนุกสนานกับกิจกรรมหลากหลายรูปแบบบนพื้นผิวทะเลสาบไบคาลที่เป็นแผ่นน้ำแข็งหนา ไม่ว่าจะเป็น กิจกรรมการถ่ายรูปในอิริยาบถต่างๆ บนแผ่นน้ำแข็งท่ามกลางความขาวจากหิมะในฤดูหนาวที่ตัดกับแผ่นพื้นน้ำแข็งสีฟ้าเข้มของทะเลสาบไบคาล เล่นสเก็ตน้ำแข็งกลางลานสเก็ตธรรมชาติขนาดใหญ่ การนั่งเรือสะเทินน้ำสะเทินบก (Hovercraft) ชมน้ำแข็งงอกน้ำแข็งย้อย ()ตามเกาะต่างๆ ในทะเลสาบไบคาล การเจาะน้ำแข็งตกปลาในกระโจมกลางทะเลสาบไบคาล การว่ายน้ำเย็นในสระที่เจาะแผ่นน้ำแข็งกลางทะเลาสาบไบคาล เป็นต้น
ความสมบัติพิเศษที่ทำให้ทะเลสาบไบคาลแตกต่างจากทะเลอื่นใดในโลก
คุณลักษณะพิเศษของทะเลสาบไบคาลคือ ในฤดูหนาวแม้พื้นทะเลสาบจะเปลี่ยนเป็นแผ่นน้ำแข็งที่ใสและเรียบเนียนหนา และบริเวณโดยรอบก็ขาวโพลนไปด้วยหิมะ แต่ทะเลสาบไบคาลแห่งนี้ยังคงอบอุ่น ไม่หนาวจัดรุนแรง ในขณะเดียวกันในฤดูร้อนอากาศบริเวณทะเลสาบไบคาลก็ยังคงมีสายลมเย็นๆ พัดผ่านและน้ำในทะเลสาบที่ใสสะอาดก็ค่อนข้างเย็นด้วยเช่นกัน
เนื่องจากการระเหยของน้ำในทะเลสาบไบคาลต่ำ จึงไม่ค่อยมีเมฆก่อตัวมาก และทำให้ท้องฟ้าโปร่ง แสงแดดส่องถึงพื้นผิวทะเลสาบไบคาลได้มาก ในขณะเดียวกันทะเลสาบยังมีความโดดเด่นในเรื่องของระยะเวลาและความเข้มของแสงแดด จึงส่งผลให้ทะเลสาบมีอุณหภูมิสูงมาก
น้ำในทะเลสาบไบคาลมีความโดดเด่นในเรื่องความใสบริสุทธิ์มากเพราะมีแร่ธาตุต่ำมาก จนสามารถก้มมองลงจากบริเวณพื้นผิวน้ำลงไปยังวัตถุอยู่ใต้น้ำด้านล่างได้ลึกถึง 40 เมตร และเป็นผลมาจากแพลงก์ตอนจำนวนมากในทะเลสาบไบคาล กินเศษซากที่แขวนลอยอยู่ในน้ำ แม้ว่าน้ำในทะเลสาบไบคาลจะมีความลึกมาก แต่น้ำในทะเลสาบไบคาลก็เต็มไปด้วยออกซิเจนที่อิ่มตัวอย่างน่าทึ่ง สำหรับสัตว์น้ำหลากหลายสายพันธุ์ที่ใช้ทะเลสาบไบคาลแห่งนี้ เป็นถิ่นอาศัยแม้จะพื้นทะเลสาบไบคาบจะลึกมากก็ตาม
ลมเป็นหนึ่งในลักษณะเด่นของภูมิอากาศไบคาล โดยลมจะพัดเกือบตลอดเวลาและความเร็วลมสูงสุดอยู่ที่ 40 เมตร/วินาที และมีชื่อลมที่พัดเข้ามาในทะเลสาบมากกว่า 30 ชื่อ เช่น ลมตะวันตกเฉียงเหนือ ลมตะวันออกเฉียงเหนือ ลมตะวันตกเฉียงใต้ ลมตะวันออกเฉียงใต้ หรือ ลมสายลวด (wire-wind) ที่พัดเข้าสู่ใจกลางทะเลสาบไบคาล และพัดไปตามแนวชายฝั่งเป็นส่วนใหญ่ ซึ่งแทบไม่มีบริเวณใดบนชายฝั่งที่ได้รับการปกป้องจากลมแรงเหล่านี้
ทะเลสาบที่เปลี่ยนสีไปตามฤดูกาล
ในฤดูใบไม้ผลิน้ำในทะเลสาบไบคาลจะมีความใสสะอาดเป็นพิเศษโดยมีสีฟ้าเข้ม โดยอุณหภูมิผิวน้ำโดยเฉลี่ยต่อปีจะอยู่ประมาณ 4 °C ในฤดูร้อนความโปร่งใสจะลดลง ทำให้น้ำในทะเลสาบไบคาลเปลี่ยนสีไปกลายเป็นสีน้ำเงินอมเขียว เนื่องมาจากอินทรียวัตถุในฤดูกาลนี้เพิ่มมากขึ้น อุณหภูมผิวน้ำเฉลี่ยต่อปีจะอยู่ประมาณ 16-17 °C หรืออาจสูงเป็น 22-23 °C ได้
ในฤดูหนาวระหว่างเดือนมกราคมจนถึงพฤษภาคม น้ำในทะเลสาบไบคาลก็จะกลับมาเป็นสีฟ้าเข้มอีกครั้ง และพื้นผิวเกือบทั้งหมดของทะเลสาบไบคาลจะถูกปกคลุมด้วยชั้นน้ำแข็งหนาประมาณ 1-2 เมตร ยกเว้นพื้นที่เล็กๆ ประมาณ 15-20 กม. ที่เป็นทั้งต้นแม่น้ำอังการ่าและปากทางไหลออกหนึ่งเดียวของน้ำในทะเลสาบไบคาล จากแม่น้ำทั้งหมดกว่า 330 สายที่ไหลเข้าเติมน้ำให้กับทะเลสาบไบคาล
ปรากฏการณ์ไบคาลน้ำแข็ง (Baikal Ice Phenomenon)
น้ำในทะเลสาบไบคาลที่กลายเป็นน้ำแข็ง มีชื่อเรียกว่า “ไบคาลน้ำแข็ง (Baikal Ice)” ซึ่งเป็นเอกลักษณ์เฉพาะตัว เนื่องจากสามารถมองทะลุลงไปในท้องน้ำได้หลายเมตร น้ำในทะเลสาบไบคาลกลายเป็นน้ำแข็งค่อนข้างช้า ในเดือนกุมภาพันธ์จะมีน้ำแข็งจำนวนมากก่อตัวขึ้น ซึ่งเป็นก้อนน้ำแข็งขนาดใหญ่ซึ่งบางก้อนก็สูงเทียบเท่าอาคารสูงหลายชั้น
ในฤดูหนาวไม่เพียงแต่กลายเป็นลานสเก็ตน้ำแข็งขนาดใหญ่เท่านั้น แต่ก็ยังเป็นระบบการคมนาคมขนาดมหึมาอีกด้วย เนื่องจากพื้นผิวน้ำแข็งที่หนา 1-2 เมตร ถูกเปลี่ยนให้เป็นถนนในฤดูหนาว โดยมีป้ายจราจรและกฎหมายพิเศษถูกวางบนพื้นผิวน้ำแข็ง ก่อนที่จะอนุญาตให้มีการจราจรบนถนน เจ้าหน้าที่ของกระทรวงเหตุฉุกเฉินรัสเซีย จะทำการตรวจสอบความแข็งของแผ่นน้ำแข็ง อุดรอยแตกร้าว เคลียร์หิมะ และติดป้ายบอกทาง เส้นทางน้ำแข็งนี้ช่วยลดระยะเวลาการเดินทางระหว่างชุมชนบริเวณชายฝั่งทะเลสาบไบคาลได้อย่างมาก แต่แผ่นน้ำแข็งบนผิวทะเลสาบไบคาลก็ไม่ได้แข็งและหนาเท่ากันหมดทั้งทะเลสาบ มีเพียง “คนขับรถท้องถิ่น” หรือที่เรียกว่า “กัปตันน้ำแข็ง (Ice captains)” เท่านั้น ที่รู้เส้นทางที่ปลอดภัย จากประสบการณ์การนำทัวร์หรือขนส่ง ข้ามทะเลสาบไบคาลในฤดูหนาว ซึ่งไม่ใช่ทุกคนจะขับรถยนต์ไปได้ทุกที่บนไบคาลน้ำแข็ง
ประเภทของไบคาลน้ำแข็ง (Types of Baikal Ice)
เป็นทะเลสาบที่ไม่สงบ มีคลื่นตลอดเวลา ทำให้แผ่นน้ำแข็งบางๆ เกิดแตกและพังทลาย ซึ่งคนท้องถิ่นเรียกว่า “ซาร่ะ (сало) มีความหมายว่า “เปลวมัน” แต่น้ำค้างแข็งก็ทำหน้าที่ให้แผ่นน้ำแข็งบางๆ เหล่านี้กลายเป็นแผ่นน้ำแข็งหนาจากบริเวณตลิ่งชายฝั่ง ซึ่งคนท้องถิ่นเรียกว่า “ซาบิริเยีย (забереги) ซึ่งมีความหมายว่า “อ้วน” แถบน้ำแข็งชายฝั่งแคบๆ ที่แข็งตัว เมื่อคลื่นม้วนเข้าฝั่งปะทะโขดหินในช่วงที่เกิดพายุ ละอองน้ำแข็งจากทะเลสาบลอยมาจับตัวกับเปลือกหรือเกล็ดน้ำแข็ง ที่แขวนอยู่ตามโขดหินและต้นไม้บริเวณชายฝั่งทะเลของแผ่นดินใหญ่หรือเกาะ และจะงอกเป็นน้ำแข็งงอกน้ำแข็งย้อยต่อมา ลักษณะพิเศษนี้เรียกว่า “การเจริญเติบโต” ของน้ำแข็ง ซึ่งคนท้องถิ่นเรียกว่า “ซาคูย (сокуи)”
ซาคูย เริ่มปรากฏขึ้นในบริเวณน้ำตื้น ในช่วงที่มีน้ำค้างแข็งครั้งแรก น้ำในทะเลสาบจะเย็นตัวลงอย่างรวดเร็วและแข็งตัวใกล้ชายฝั่ง คลื่นจะซัดกระแทกสาดน้ำจากทะเลสาบลงบนน้ำแข็งที่ก่อตัวขึ้น ซึ่งเมื่อแข็งตัวก็จะทำให้น้ำแข็งหนาขึ้นและมีลักษณะเป็นคลื่นที่แปลกประหลาด ซาคูยเติบโตอย่างรวดเร็วโดยเฉพาะในช่วงลมแรงและมีพายุหิมะ ซาคูยจึงเป็นวัสดุก่อสร้างชั้นเยี่ยมทำให้เกิดเป็นสันสีขาวขุ่น และมีรูพรุนที่มักก่อตัวตามแนวชายฝั่ง ในถ้ำน้ำแข็งก็จะมีซาคูยปรากฏขึ้นมากมาย และซาคูยเหล่านี้จะค่อยๆ ละลายหายไปเมื่อฤดูใบไม้ผลิมาถึง
ทะเลสาบไบคาล จะถูกเรียกว่า “โซปกิ (сопки)” ที่มีความหมายว่า “เนินเขา (Hills)” ซึ่งได้รับการอธิบายถึงปรากฏการณ์นี้ครั้งแรกโดย นักวิทยาศาสตร์จาก “สถานีชลธารวิทยาไบคาล (Baikal Limnological Station)” ในทศวรรษที่ 1940
ไบคาลน้ำแข็ง
ไบคาลน้ำแข็ง
โซปกิ จะมีรูปทรงกลวยปกติ ภายในกลวง เป็นเนินสูง 6 เมตร ก่อตัวจากน้ำแข็งที่มีรูพรุนทึบแสง มักตั้งอยู่แยกกันหรืออยู่กันเป็นกลุ่ม บางครั้งอาจมีอยู่หลายแถว และมีลักษณะคล้ายเทือกเขาขนาดเล็ก ลักษณะทางภูมิศาสตร์ที่น่าสนใจของ โซปกิ หรือ เนินเขา คือ เกิดขึ้นได้ทั่วไปบนชายฝั่งตะวันออก ในขณะที่บนชายฝั่งตะวันตกจะค่อนข้างพบได้ยากมาก
นอกจากชายฝั่งซาคูยและโซปกิแล้ว ยังพบน้ำแข็งลอยน้ำในปริมาณมากบนทะเลสาบไบคาลอีกด้วย บางส่วนถูกพัดจากชายฝั่งของแม่น้ำทั้ง 336 สาย ที่ไหลลงสู่ทะเลสาบในช่วงที่เกิดธารน้ำแข็งในฤดูใบไม้ร่วงและช่วงต้นของฤดูหนาว ขณะเดียวกันบางส่วนก็เกิดจากเศษของซาคูย และบางส่วนได้ก็เกิดจากน้ำแข็งที่มักก่อตัวในพื้นที่ บอลโชย โกลาอุสนาว่า และมิสซาวอย
นอกจากฤดูใบไม้ร่วงแล้ว ยังมีน้ำแข็งที่เรียกว่า “โกลาโบฟนิค (колобовник)” หรือ “มียาติค (мятик)” จะประกอบด้วยก้อนน้ำแข็งทรงกลมเล็กๆ ในฤดูใบไม้ร่วง ล้อมรอบด้วยผืนน้ำแข็งเรียบใสในทะเลสาบ เนื่องจากความหนาของก้อนน้ำแข็งเหล่านี้มีเพียงเล็กน้อย พื้นผิวจึงนูนจากการกระเซ็นของคลื่น
น้ำแข็งทรงถ้วยและจาน หรือ “ชาเชชนี่ อิ ตารีโลชะนี โยด (Чашечный и тарелочный лед)” ก่อตัวก่อนที่ทะเลสาบไบคาลจะกลายเป็นน้ำแข็งอย่างสมบูรณ์ จะมีรูปร่วงคล้ายกับโกลาโบฟนิค โดยมีความแตกต่างเพียงอย่างเดียวคือ แต่ละชิ้นที่ประกอบขึ้นจะมีขนาดใหญ่กว่ามาก
น้ำแข็งทุกรูปแบบเหล่านี้สวยและงดงามมาก เป็นดังภาพบนกระจกน้ำแข็งสีน้ำเงินเข้ม น้ำแข็งทรงกลมสีขาวและจุดทึบแสงของฤดูใบไม้ร่วงที่เกิดกระจัดกระจายไปทั่วทะเลสาบ ในขณะเดียวกันในพื้นที่เปิดของทะเลสาบ มีกระบวนการตกผลึกน้ำแข็งที่มองไม่เห็น น้ำจะไม่แข็งตัวทันที เนื่องจากมีคลื่นรบกวนอยู่ตลอดเวลา แต่เนื่องจากอุณหภูมิลดลงเพียงพอและมีการระบายความร้อนของน้ำอย่างเหมาะสม เลนส์และเข็มน้ำแข็งขนาดเล็กที่เกิดขึ้น จะมีขนาดไม่กี่มิลลิเมตร
ทันทีที่น้ำแข็งเซ็ตตัวได้ น้ำแข็งจะเริ่มขยายตัวประมาณ 4-5 ซม.ต่อวัน บริเวณอ่าวตื้นๆ จะเกิดการแข็งตัวก่อน และในพื้นที่น้ำลึกจะยังคงสภาพเดิม โดยปกติบริเวณอ่าวโพรวาล (ฝั่งตะวันออกของทะเลสาบไบคาล และเหนือปากแม่น้ำเซเรงเก (Selenge River) ที่ไหลผ่านเมืองอูลานอูเด) จะเป็นน้ำแข็งในช่วงครึ่งแรกของเดือนพฤศจิกายน จากนั้นในช่วงต้นเดือนธันวาคม ช่องแคบมาโลโมร์ (ช่องแคบทางตอนใต้สุดระหว่างเกาะโอล์คฮอนกับแผ่นดินใหญ่) จะกลายเป็นน้ำแข็ง ในเดือนมกราคม ครึ่งทางตอนเหนือของทะเลสาบและด้านทรานส์ไบคาลตอนใต้ของทะเลสาบ ถูกปกคลุมไปด้วยน้ำแข็ง และต่อมาชายฝั่งตะวันออกทางใต้ของทะเลสาบไบคาลจะกลายเป็นน้ำแข็ง และภายในกลางเดือนมกราคม บริเวณน้ำเปิดใกล้เกาะโอล์คฮอนจะแข็งตัวประมาณวันที่ 9 มกราคมจนถึง 4 พฤษภาคม ซึ่งเป็นเวลาที่ทะเลสาบไบคาลจะกลายเป็นน้ำแข็งทั้งหมด มีเพียงบริเวณต้นแม่น้ำอังการ่าเท่านั้นที่ไม่เคยแข็งตัว
บนพื้นทะเลสาบไบคาลมีน้ำแข็งที่เรียกว่า “ฮัมม็อกส์ (Hummocks)” เป็นน้ำแข็งแบบคลาสสิก ที่แสดงถึงการสะสมของน้ำแข็งที่วุ่นวาย บางแห่งจะก่อตัวเป็นแนวตั้ง บางแห่งก่อตัวเอียงในมุมที่แตกต่างกัน โดยที่ฐานน้ำแข็งจะถูกเชื่อมเข้ากับแผ่นน้ำแข็งใหญ่ และด้านบนจะปกคลุมด้วยหิมะ ความสูงของฮัมม็อกส์มีตั้งแต่ไม่กี่เซนติเมตรจนไปถึงหนึ่งเมตร
ตามกฎแล้วน้ำแข็งทางตอนใต้ของทะเลสาบไบคาลจะอยู่ได้ 4-4.5 เดือน และทางตอนเหนือของทะเลสาบไบคาลจะอยู่ได้นานถึงหกเดือน
ไบคาลน้ำแข็ง
ไบคาลน้ำแข็ง
ความหนาของไบคาลน้ำแข็ง (Baikal Ice Thickness)
ความหนาของน้ำแข็งในทะเลสาบไบคาลมักจะขึ้นอยู่กับความรุนแรงของฤดูหนาว เช่นเดียวกับปริมาณหิมะที่ทับถมลงบนแผ่นน้ำแข็ง แต่ด้วยค่าการนำความร้อนต่ำ จึงส่งผลกระทบต่อความเย็นอย่างมีนัยสำคัญ ในช่วงแรกๆของฤดูหนาวแผ่นน้ำแข็งจะเกิดขึ้นแบบบางๆ ซึ่งจะเกิดขึ้นเป็นวงกว้างอย่างรวดเร็ว แต่กระบวนการจะค่อยๆช้าลงตามสภาพภูมิอากาศและอุณหภูมิที่เกิดขึ้นตลอดฤดูหนาว
ความหนาของน้ำแข็งทั่วทั้งทะเลสาบมีตั้งแต่ 70 ซม. จนถึง 2 เมตร จากการสังเกตในระยะยาวพบว่า น้ำแข็งบนชายฝั่งตะวันออกของทะเลสาบไบคาล มีความหนามากขึ้น เลียบชายฝั่งตะวันตกเฉียงเหนือ และในทะเลเล็กจะมีน้ำแข็งใสไร้หิมะที่สามารถมองทะลุเห็นก้นทะเลน้ำตื้นได้
ในหลายพื้นที่ของทะเลสาบไบคาล ในช่วงกลางฤดูหนาว น้ำแข็งในท้องถิ่นจะเริ่มละลายจากด้านล่าง และการก่อตัวของไอน้ำสิ่งที่เรียกว่า “โพรพารินส์ (пропарин)” ซึ่งมีขนาดเส้นผ่านศูนย์กลางสูงหลายร้อยเมตร เชื่อกันว่าเป็นไอน้ำที่เกิดจากน้ำผุดอุ่นใต้น้ำ ซึ่งก่อตัวใกล้ชายฝั่งและก่อให้เกิดอันตราย เนื่องจากจะทำให้น้ำแข็งถูกกัดกร่อนละลายจากด้านล่าง ทำให้แผ่นน้ำแข็งเปราะบางมากจนไม่สามารถรับน้ำหนักได้ โดยปกติจะเกิดเป็นรูเล็กๆ หลายรูที่ก่อตัวบนน้ำแข็ง และขยายออกรวมกันเป็นหลุมเดียวอย่างรวดเร็ว ซึ่งเรียกว่า “ห้องอบไอน้ำ (Steam baths) จะปรากฏขึ้นทุกปีในบริเวณปากแม่น้ำเซเร็งเก และในทะเลเล็กระหว่างแหลมโกบิลย่า โกโลว่า (ตอนใต้สุดของเกาะโอล์คฮอนกับปากแม่น้ำซาร์มา (ชายฝั่งแผ่นดินใหญ่ทางตะวันตก) รวมถึงบริเวณใกล้ๆ กับหมู่เกาะอุชกาน (Ushkan Island)
อย่างไรก็ตามเวอร์ชั่นของ “ห้องอบไอน้ำ หรือ หลุมไอน้ำ” ที่ปรากฏขึ้นไม่ใช่เพราะกระแสน้ำอุ่นที่เกิดจากบ่อน้ำผุดใต้น้ำ แต่เป็นเพราะก๊าซสะสมที่อยู่ใต้น้ำแข็ง และสามารถเผาไหม้จนเกิดเป็นเปลวไฟที่สว่างจ้าได้อย่างรวดเร็ว ถ้านำไฟไปจุดที่หลุมดังกล่าว ไฟก็จะลุกพลึบออกจากหลุม และเผาไหม้จนกว่าฟองก๊าซขนาดใหญ่ที่อยู่ใต้แผ่นน้ำแข็งนี้จะหมดไป
คุณสมบัติอีกประการหนึ่งของน้ำแข็งไบคาล คือ รอยแตกที่เรียกว่า “รอยแตกสตาโนว่า (Stanova cracks)” มีลักษณะเป็นรอยแตกเป็นเส้นตรงคล้ายใยแมงมุม เกิดในสภาพที่มีน้ำค้างแข็งรุนแรง ซึ่งจะฉีกแผ่นน้ำแข็งออกเป็นร่องๆ ความยาวของรอยแตกอาจยาวได้ถึง 10-30 กม. และความกว้างอาจกว้างได้ 2-3 เมตร น้ำแข็งแตกเกิดขึ้นทุกปีในบริเวณเดียวกันของทะเลสาบ ซึ่งมาพร้อมกับเสียงดังมาก ซึ่งชวนให้นึกถึงฟ้าร้อง ฟ้าผ่า หรือเสียงปืนใหญ่ รอยแตกบนน้ำแข็งเหล่านี้ทำให้ปลาในทะเลสาบไบคาลไม่ตายจากการขาดออกซิเจน จากการแข็งตัวเป็นน้ำแข็งของผิวน้ำในทะเลสาบทั้งผืน ขณะเดียวกันออกซิเจนยังสามารถถูกปล่อยออกจาก สาหร่าย แพลงก์ตอน ซึ่งพัฒนาตัวได้อย่างรวดเร็ว ภายใต้แผ่นน้ำแข็ง เนื่องจากแสงแดดสามารถส่องทะลุผ่านแผ่นน้ำแข็งที่ใสสะอาด โดยสาหร่าย แพลงก์ตอน สามารถนำแสงแดดที่ส่องผ่านแผ่นน้ำแข็งไปสังเคราะห์แสงได้
โดยปกติทะเลสาบไบคาลจะเริ่มละลายในปลายเดือนเมษายน ในพื้นที่จากเคปโบลชอย กาดิลนี่ ซึ่งเกิดจากอิทธิพลของกระแสน้ำอุ่นจากน้ำผุดใต้น้ำที่เพิ่มขึ้น ในเดือนเมษายนน้ำแข็งจะเริ่มเปราะบางและมืดลง และภายในเดือนพฤษภาคมทะเลสาบไบคาลจะเป็นอิสระจากแผ่นน้ำแข็ง แม้จะมีน้ำแข็งบางส่วนลอยอยู่ในทะเลสาบจนถึงต้นฤดูร้อนในช่วงวันที่ 9-14 มิถุนายน น้ำแข็งจะละลายหายไปไล่ขึ้นไปทางตอนเหนือของทะเลสาบ และหกเดือนต่อมาแผ่นน้ำแข็งหนา น้ำแข็งงอกน้ำแข็งย้อย หรือปรากฏการณ์ทางธรรมชาติต่าง ๆ ของทะเลสาบในฤดูหนาวก็จะเกิดขึ้นอีกครั้ง