ปัจจุบันซามาร์คันด์เป็นเมืองที่ใหญ่เป็นอันดับสามของอุซเบกิสถาน โดยเป็นเมืองที่ผสมผสานระหว่างประเพณีตะวันออกโบราณและความทันสมัย ทัวร์อุซเบกิสถาน โดยมีประชากรมากกว่าครึ่งล้านคน ในแต่ละปีมีผู้มาเยือนหลายพันคนจากทั่วโลก เดินทางมาสัมผัสประวัติศาสตร์อันยาวนานและเสน่ห์อันเป็นเอกลักษณ์
ทัวร์อุซเบกิสถาน นำเสนอการท่องเที่ยวที่น่าตื่นเต้นในใจกลางของประวัติศาสตร์อันยาวนานของเอเชียกลาง โดยจัดแสดงสิ่งมหัศจรรย์ทางสถาปัตยกรรมอันน่าทึ่งของเมืองจากยุคของเส้นทางสายไหม ด้วยเรื่องเล่าอันน่าหลงใหลในอดีต มอบการเดินทางที่น่าจดจำผ่านจัตุรัสเรจิสถาน สุสานชาห์-อี-ซินดา และมัสยิดบีบี-ฆานิมที่น่าตื่นตาตื่นใจ
ก่อนออกเดินทาง ทัวร์อุซเบกิสถาน ลองอ่านเรื่องราวลึกประวัติศาสตร์และวัฒนธรรมอันมีชีวิตชีวาของซามาร์คันด์ให้ลึกซึ้งยิ่งขึ้น เพื่อชื่นชมความยิ่งใหญ่อย่างแท้จริง
ทัวร์อุซเบกิสถาน : 4 นครโบราณแห่งอุซเบกิสถาน บนเส้นทางสายไหมโบราณ ซามาร์คันด์
ซามาร์คันด์ : ทางแยกแห่งทางวัฒนธรรมอันหลากหลาย
ซามาร์คันด์ เป็นเมืองประวัติศาสตร์ที่มีชื่อเสียง ก่อตั้งขึ้นในราว 700 ปี ก่อนคริสตกาล ในชื่อเมืองโบราณอะฟราซิยาบ จนกระทั่งถูกกองทัพมองโกลพิชิตได้ในศตวรรษที่ 13 ต่อมาซามาร์คันด์มีพัฒนาการสำคัญในภูมิภาค เป็นทั้งทางแยกและที่หลอมรวมวัฒนธรรมของโลกในดินแดนเอเชียกลาง เคยเป็นจุดแวะพักที่สำคัญตามเส้นทางสายไหมอันยิ่งใหญ่ ในฐานะเมืองหลวงของอาณาจักรของอามีร์ ติมือร์ หรือ เตมือร์ ข่าน เมืองนี้เจริญรุ่งเรืองภายใต้การแนะนำของอูลึฆ เบ็ค หรือ มีร์ซา อูลึฆ-เบ็ค พระนัดดาของพระองค์ ผู้เปลี่ยนเมืองให้เป็นศูนย์กลางของความก้าวหน้าทางวิทยาศาสตร์และวัฒนธรรมในเอเชียกลาง อนุสรณ์สถานทางสถาปัตยกรรมยุคกลางต่างๆ ของเมือง ได้รับการอนุรักษ์ไว้อย่างดี ทำให้เมืองนี้อยู่ในรายชื่อมรดกโลกขององค์การยูเนสโก ไม่ว่าจะเป็น มัสยิดเรจิสถานและโรงเรียนสอนศาสนา (มาดาสซาห์) มัสยิดบีบี-ฆานิม กลุ่มอาคารมัสยิดและสุสานราชวงศ์ซาห์-อี-ซินดา และกลุ่มอาคารกูร-อี-อามีร์ (สุสานหลวงของอามีร์ ติมือร์) รวมถึงหอดูดาวอูลึฆ-เบ็ค
ซามาร์คันด์ : เมืองประวัติศาสตร์มรดกโลกโดยองค์การยูเนสโก้
ซามาร์คันด์ ได้รับการขึ้นทะเบียนเป็นมรดกโลกโดยองค์การยูเนสโก้ในปี ค.ศ. 2001 ด้วยหลักเกณฑ์ดังนี้
(i) สถาปัตยกรรมและทิวทัศน์เมืองของซามาร์คันด์ ซึ่งตั้งอยู่ที่ทางแยกของวัฒนธรรมโบราณ เป็นผลงานชิ้นเอกของความคิดสร้างสรรค์ทางวัฒนธรรมอิสลาม
(ii) สิ่งก่อสร้างในซามาร์คันด์ เช่น มัสยิดบีบี-ฆานุม และจัตุรัสเรจิสถาน มีบทบาทสำคัญในการพัฒนาสถาปัตยกรรมอิสลามทั่วทั้งภูมิภาค ตั้งแต่ทะเลเมดิเตอร์เรเนียนไปจนถึงอนุทวีปอินเดีย
(iv) เมืองประวัติศาสตร์ซามาร์คันด์แสดงให้เห็นในงานศิลปะ สถาปัตยกรรม และโครงสร้างเมืองในช่วงที่สำคัญที่สุดของประวัติศาสตร์วัฒนธรรมและการเมืองเอเชียกลางตั้งแต่ศตวรรษที่ 13 จนถึงปัจจุบัน
ซามาร์คันด์ตั้งอยู่ในโอเอซิสขนาดใหญ่ในหุบแม่น้ำเซราฟชาน ในภูมิภาคตะวันออกเฉียงเหนือของอุซเบกิสถาน เป็นทางแยกของวัฒนธรรมโลกที่มีประวัติศาสตร์ยาวนานกว่าสองพันห้าร้อยปี โดยมีหลักฐานการตั้งถิ่นฐานในภูมิภาคย้อนกลับไปได้ถึง 1,500 ปีก่อนคริสตกาล โดยซามาร์คันด์มีการพัฒนาที่สำคัญที่สุดในยุคทามูริด ตั้งแต่ศตวรรษที่ 14 ถึงศตวรรษที่ 15 เมื่อซามาร์คันด์เป็นเมืองหลวงของอาณาจักรเทมูริด หรืออาณาจักรของอามีร์ ติมือร์ที่ทรงพลัง
ส่วนทางประวัติศาสตร์ของซามาร์คันด์ประกอบด้วยสามส่วนหลัก ทางตะวันออกเฉียงเหนือเป็นที่ตั้งของเมืองโบราณอะฟราซิยาบ ซึ่งก่อตั้งขึ้นในศตวรรษที่ 7 ก่อนคริสต์ศักราช และถูกทำลายโดยเจงกีสข่านในศตวรรษที่ 13 ซึ่งได้รับการอนุรักษ์ไว้เป็นเขตอนุรักษ์ทางโบราณคดี การขุดค้นทางโบราณคดีได้เผยให้เห็นป้อมปราการโบราณ (ซิต้าเดล) และการสร้างป้อมปราการ พระราชวังของผู้ปกครอง ที่สร้างขึ้นในศตวรรษที่ 7 โดยมีภาพวาดฝาผนังที่สำคัญ และที่อยู่อาศัย รวมถึงงานฝีมือต่างๆ นอกจากนี้ยังมีซากมัสยิดโบราณขนาดใหญ่ที่ สร้างขึ้นตั้งแต่ศตวรรษที่ 8-12
ทางทิศใต้มีกลุ่มสถาปัตยกรรมและเมืองในยุคกลางของยุคเทมูริด ในศตวรรษที่ 14-15 ที่มีบทบาทสำคัญในการพัฒนาการวางผังเมือง สถาปัตยกรรม และศิลปะในภูมิภาค พื้นที่เก่าแก่ของเมืองเก่ายังคงมีที่มีความสำคัญทางประวัติศาสตร์ โดยมีตรอกซอกซอยแคบๆ ทั่วไป ซึ่งเชื่อมต่อกันเป็นเขตที่มีศูนย์กลางทางสังคม มัสยิด โรงเรียนสอนศาสนา (มาดราสซาห์) และที่อยู่อาศัย บ้านเรือนแบบดั้งเดิมของชาวอุซเบกซึ่งมีหนึ่งหรือสองชั้น และพื้นที่ต่างๆ ถูกจัดกลุ่มไว้รอบลานกลางพร้อมสวนสาธารณะ บ้านสร้างด้วยอิฐโคลน ทาสีเพดานไม้และตกแต่งผนัง โดยเหล่าปรมาจารย์ทางด้านสถาปัตยกรมอิสลามในยุคเตมูริด มีส่วนร่วมในการออกแบบและก่อสร้าง ซึ่งมีความสำคัญอย่างยิ่งต่อการพัฒนาสถาปัตยกรรมและศิลปะอิสลาม ที่มีอิทธิพลอย่างมากในภูมิภาคทั้งหมด ซึ่งนำไปสู่ความสำเร็จทางสถาปัตยกรรมของกลุ่มอิสลามซาฟาวิดในเปอร์เซีย โมกุลในอินเดีย รวมถึงพวกออตโตมานในตุรกีด้วย
ทางด้านทิศตะวันตกมีบริเวณที่สอดคล้องกับการขยายตัวของเมืองในศตวรรษที่ 19-20 ทัวร์อุซเบกิสถาน สร้างโดยชาวรัสเซียในสไตล์ยุโรป เมืองสมัยใหม่แห่งนี้ได้แผ่ขยายไปทั่วเขตประวัติศาสตร์ ซึ่งเป็นบริเวณที่แสดงถึงความต่อเนื่องและคุณภาพทางวัฒนธรรมดั้งเดิม สะท้อนผ่านสิ่งก่อสร้างของพื้นที่ใกล้เคียง เช่น ศูนย์กลางชุมชนขนาดเล็ก มัสยิด และบ้านเรือน รอบๆ สนามหญ้าและสวนสาธารณะ มีกลุ่มบ้านเรือนที่ยังคงทาสีและตกแต่งภายในแบบดั้งเดิม
สถานที่สำคัญและสถานที่ท่องเที่ยวในซามาร์คันด์
ซามาร์คันด์เป็นเมืองที่เต็มไปด้วยสถานที่ท่องเที่ยว โดยมีสถานที่น่าดึงดูดมากมายที่เน้นเกี่ยวกับประวัติศาสตร์ยุคกลางโดยเฉพาะ ซึ่งสถานที่น่าสนใจดังนี้
จัตุรัสเรจิสถาน
ทัวร์อุซเบกิสถาน : จตุรัสเรจิสถาน
เป็นจัตุรัสที่โดดเด่นที่สุดของซามาร์คันด์ ประกอบด้วยโรงเรียนสอนศาสนาอิสลาม หรือ มาดราสซาห์ สร้างขึ้นในศตวรรษที่ 15-17 สามแห่ง รวมกันเป็นสถาปัตยกรรมอิสลามิคอันน่าทึ่ง บริเวณจัตุรัสนี้มี อูลึฆ เบ็ค มาดราสซาห์ อยู่ตรงกลาง สร้างขึ้นในปีค.ศ. 1420 ที่ขนาบข้างด้วย เชร์ดอร์ มาดราสซาห์ สร้างขึ้นในปี ค.ศ. 1636) และ ติลลยา-คารี มาดราสซาห์ สร้างขึ้นในปี ค.ศ. 1660 ซึ่งโรงเรียนสอนศาสนาเหล่านี้ เคยทำหน้าที่เป็นสถาบันการศึกษาทางจิตวิญญาณสำหรับผู้ที่ต้องการศึกษาศาสนาอิสลาม มาดราซาห์แต่ละแห่งมี คูหาเล็กๆ (ห้องนั่งเล่น) มัสยิด และลานภายใน ซึ่งได้รับการอนุรักษ์ไว้เป็นอย่างดีจนถึงทุกวันนี้ และได้รับการยกย่องให้เป็นมรดกโลกโดยองค์การยูเนสโก
สุสานหลวงกูร-เอมีร์
กูร-เอมีร์เป็นฝังพระศพของอามีร์ ติมือร์ หรือ ติมูเลน ผู้ปกครองที่มีชื่อเสียงจากการเป็นผู้นำที่พิชิตดินแดนต่างๆ ทั่วเอเชียกลางและเปอร์เชีย และการสถาปนารัฐที่ทรงอำนาจ ภายใต้การปกครองของพระองค์ ซามาร์คันด์กลายเป็นเมืองหลวงและมีการเติบโตทางวัฒนธรรม สถาปัตยกรรม และเศรษฐกิจที่สำคัญ ข่านติมือร์ได้สร้างสุสานหลวงแห่งนี้ครั้งแรกในปี ค.ศ. 1404 สำหรับพระนัดดาของพระองค์ แต่หลังการสิ้นพระชนม์อย่างไม่คาดคิดในปี ค.ศ. 1405 ทำให้พระศพของพระองค์ก็ถูกฝังไว้ที่นี่ด้วยเช่นกัน แม้ว่าพระองค์ตั้งใจจะฝังร่างของพระองค์ไว้ที่เมืองเกส (เมืองชาฆริสซาบซ์ ในปัจจุบัน) ซึ่งเมืองเกิดของพระองค์ก็ตาม
สุสานหลวงแห่งนี้ยังเป็นสถานที่พำนักแห่งสุดท้ายของ ชาห์รุฆ มีร์ซา และ ชาราล-อุด ดิน มิราน ชาห์ ซึ่งเป็นโอรสของอามีร์ ติมือร์ (ข่านแห่งจักรวรรดิติมูริด) มีร์ซา, อูลึฆ-เบ็ค พระนัดดาของอามีร์ ติมือร์, สุลต่าน มูฮัมหมัด มีร์ซา บุตรของชาราล-อุด ดิน มิราน ชาห์, มีร์ ซาอิด บาราค่า พระอาจารย์ของอามีร์ ติมือร์ และและสมาชิกคนอื่นๆ อีกหลายคนในราชวงศ์ติมูริด
มัสยิดบีบี-ฆานิม
ทัวร์อุซเบกิสถาน : มัสยิดบีบี-ฆานิม
ตั้งอยู่ใกล้กับซิอับ บาซาร์ สร้างขึ้นในปี ค.ศ. 1404 เพื่อเป็นเกียรติแก่พระมเหสีอันเป็นที่รักของอามีร์ ติมือร์ ว่ากันว่าข่านติมือร์ทรงดูแลกระบวนการก่อสร้างเป็นการส่วนตัว ภายในลานมัสยิดมีแท่นหินขนาดใหญ่ สำหรับอ่านอัลกุรอาน ซึ่งเป็นหนังสือศักดิ์สิทธิ์ของศาสนาอิสลาม ตำนานเล่าว่าหากผู้หญิงที่ไม่มีบุตรคลานอยู่ใต้อัฒจันทร์ เธออาจตั้งครรภ์ได้
มัสยิดบีบี-ฆานิมเป็นหนึ่งในอนุสรณ์สถานที่สำคัญที่สุดของเมืองซามาร์คันด์ เป็นมัสยิดที่ใหญ่ที่สุดและงดงามที่สุดแห่งหนึ่งในโลกอิสลาม ถือเป็นผลงานชิ้นเอกของยุคฟื้นฟูศิลปวิทยาการของจักรวรรดิติมูริด หรือ ติมูริด เรอเนซองส์ (ระหว่างปลายศตวรรษที่ 14 จนถึงต้นศตวรรษที่ 16) ในช่วงกลางศตวรรษที่ 20 มีเพียงซากปรักหักพังอันยิ่งใหญ่เท่านั้นที่ยังคงหลงเหลืออยู่ โดยส่วนสำคัญของมัสยิดได้รับการบูรณะใหม่ในช่วงสมัยโซเวียต
ทัวร์อุซเบกิสถาน : อีกมุมหนึ่งของมัสยิดบีบี-ฆานิม
กลุ่มอนุสรณ์สุสานซาห์-อี-ซินดา
ทัวร์อุซเบกิสถาน : อนุสรณ์สถานซาห์-อี-ซินดา
เป็นสุสานยุคกลางอันโดดเด่น ประดับประดาด้วยโทนสีฟ้า ไปตามถนนแคบๆ ที่ทอดยาวมีสุสานของชาวเมืองซามาร์คันด์ที่มีชื่อเสียงตั้งแต่ศตวรรษที่ 11 ถึง 15 หากต้องการไปถึงสุสาน นักท่องเที่ยวจะต้องขึ้นบันได เชื่อกันว่าผู้ที่นับก้าวขึ้นลงเท่ากันคือผู้โชคดีที่ความปรารถนาจะเป็นจริง
ซาห์-อี-ซินดา หรือ ชอฮีซินดา มีความหมายว่า กษัตริย์ผู้ยังดำรงชีพอยู่ เป็นหมู่อาคารสุสานขนาดใหญ่ในเมืองซามาร์คันด์ ประกอบด้วยสิ่งปลูกสร้าง 3 กลุ่มย่อย ได้แก่ ตอนบน ตอนกลาง ตอนล่าง ซึ่งทั้งหมดเชื่อต่อกันด้วยทางเดินที่มีหลังโดม (Chartak คาร์ตั๊ก) โดยสิ่งปลูกสร้างที่เก่าแก่ที่สุดในซาห์-อี-ซินดา สร้างขึ้นราวศตวรรษที่ 11-12 ขณะที่สิ่งปลูกสร้างที่เห็นในปัจจุบันสร้างขึ้นในศตวรรษที่ 14-15 และสิ่งปลูกสร้างใหม่ส่วนใหญ่สร้างขึ้นในศตวรรษที่ 16-19
หมู่อาคารตอนบน ประกอบด้วย อนุสรณ์สุสานจำนวน 3 อาคาร หันหน้าเข้าหากัน โดยอนุสรณ์สุสานของโฆดยา-อัฆหมัด เป็นอาคารที่เก่าแก่ที่สุด สร้างในทศวรรษที่ 1340 หมู่อาคารตอนกลาง ประกอบด้วย อนุสรณ์สุสานจากช่วงปลายศตวรรษที่ 14 จนถึงต้นศตวรรษที่ 15 โดยมีการตั้งตามชื่อพระญาติ นายพล และขุนนางของอามีร์ ติมือร์ โดยอนุสรณ์สุสานของชาดีห์ มุลก์ อกา พระนัดดาสาวของอามีร์ ติมือร์ เป็นอาคารสำคัญที่สุดในหมู่อาคารตอนกลางฝั่งตะวันตก ตรงกันข้ามกันมีอาคารอนุสรณ์สุสานของชีริน บีกา อกา พี่น้องของอามีร์ ติมือร์ ทัวร์อุซเบกิสถาน และหมู่อาคารตอนล่างมีอาคารสำคัญได้แก่ อนุสรณ์ศพของกาซี ซาเด อัลรูมี นักวิทยาศาสตร์และนักดาราศาสตร์คนสำคัญในยุคฟื้นฟูศิลปวิทยาการของจักรวรรดิติมูริด มีสถานะเทียบเท่ากับอนุสรณ์สุสานของสมาชิกในราชวงศ์ติมูริด ซึ่งสร้างโดยมีร์ซา มูฮัมหมัด ตารฆัย บิน ชาห์รุฆ (สุลต่านแห่งติมูริด และเป็นนักดาราศาสตร์กับนักคณิตศาสตร์อิสลาม ที่มีผลงานเกี่ยวกับ ตรีโกณมิติ และเรขาคณิตทรงกลม)
หอดูดาวอูลุฆ เบ็ก
หอดูดาวอูลุฆ เบ็ก ถูกค้นพบโดย วาสสิลี่ วยัตกิ้น นักโบราณคดีชาวรัสเซีย ระหว่างการขุดค้นทางโบราณคดีในปี ค.ศ. 1908 เป็นซากของหอดูดาวทรงกระบอก 3 ชั้น ที่มีอายุย้อนไปถึงปี ค.ศ. 1420 ในระหว่างการขุดค้นได้พบเครื่องมือวัดที่มีเอกลักษณ์เฉพาะตัว ได้รับการจัดวางอย่างระมัดระวัง ซึ่งเป็นเครื่องวัดความสูง ใช้ในการกำหนดความสูงของดวงอาทิตย์และดวงดาวต่างๆ โดยสามารถวัดดวงอาทิตย์จากขอบฟ้า ความสูงของดาวฤกษ์ และดาวเคราะห์อื่นๆ รวมถึงการวัดระยะเวลาของปี คาบของดาวเคราะห์ และสุริยุปราคาได้อย่างแม่นยำ
หอดูดาวแห่งนี้สร้างขึ้นในสมัยที่อูลุฆ เบ็ก เป็นมีร์ซ่า (เจ้าชาย พระนัดดาของอามีร์ ติมือร์) ซึ่งเป็นสถาบันดาราศาสตร์แห่งสุดท้ายของอิสลามยุคกลาง โดยมี อูลุฆ เบ็ก และ ยามชิด อัล-กาชี เป็นผู้อำนวยการหอดูดาวคนแรก กับ อาลี ฆูชจี เป็นผู้อำนวยการคนถัดมา ซึ่งเป็นนักดาราศาสตร์อิสลามที่ทำงานในหูอดูดาวแห่งนี้ ทัวร์อุซเบกิสถาน โดยมีตำราดาราศาสตร์ภาษาเปอร์เซียหลายฉบับได้อ้างถึงหอดูดาวซามาร์คันด์และอูลุฆ เบ็ก ซึ่งหอดูดาวแห่งนี้ถูกทำลายในปี ค.ศ. 1449 หลังการสิ้นพระชนม์ของสุลต่านมูฮัมหมัด ตารฆัย บิน ชาห์รุฆ โดยการลอบสังหารของอับดัล อัล-ลาติฟ โอรสของพระองค์ระหว่างการเดินทางไปแสวงบุญที่มักกะฮ์ ทำให้เกิดความวุ่นวายภายในหอดูดาว นักดาราศาสตร์ผู้มีความสามารถหลายสิบคนถูกขับไล่ออกไป
อนุสรณ์สุสานของศาสดาพยากรณ์ดานียาร์
อนุสรณ์สุสานของโฆยา ดานียาร์ หรือสุสานของนักบุญหรือประกาศกดานีเอล ตั้งอยู่ไม่ห่างจากแหล่งโบราณคดีอะโฟรเซียบ ซึ่งเป็นสถานที่แสวงบุญของผู้ที่นับศาสนาอิสลาม ออร์โธดอกซ์ และศาสนายิว ตามการเล่าขานของตำนานและแหล่งข้อมูลที่น่าเชื่อถือบ่งชี้ว่า ศาสดาพยากรณ์ดานียาร์ถูกฝังอยู่ที่นี่ โดยท่านเป็นผู้ร่วมงานของลูกพี่ลูกน้องของศาสดามูฮัมหมัด
ในบริเวณใกล้หลุมศพจะมีน้ำผุดศักดิ์สิทธิ์ ผู้มาเยือนหลายคนกล่าวว่าได้รับการรักษาเยียวยาหลังจากดื่มน้ำจากน้ำผุดแห่งนี้ นอกจากนี้ยังมีต้นพิตาชิโอตั้งตระหง่านอยู่ที่ทางเข้าอนุสรณ์สุสานอีกด้วย แม้ว่าจะเคยเป็นพื้นที่แห้งแล้งมาเกือบครึ่งศตวรรษ แต่ก็บานสะพรั่งหลังจากการมาเยือนของพระสังฆราชอเล็กซี ที่ 2 อดีตอัครบิดรแห่งมอสโคว์และรัสทั้งปวงของคริสตจักรรัสเซียนออร์โธดอกซ์ในปี ค.ศ. 1996 และยังคงออกดอกทุกปี
แหล่งโบราณคดีอะโฟรเซียบ
อะโฟรเซียบ ครอบคลุมพื้นที่ 2.2 ตารางกิโลเมตร เป็นแหล่งโบราณคดีที่ตั้งอยู่ทางตะวันออกเฉียงเหนือของเซียบ บาซาร์ ภายในเมืองซามาร์คันด์ยุคใหม่ อะโฟเซียบถูกกล่าวถึงครั้งแรกในบันทึกที่ลายลักษณ์อักษรในศตวรรษที่ 8 ก่อนคริสตกาล ทัวร์อุซเบกิสถาน การขุดค้นทางโบราณคดีเริ่มดำเนินการในช่วงปลายศตวรรษที่ 19 ได้ค้นพบสิ่งประดิษฐ์จำนวนมากที่มีอายุย้อนกลับไปถึงศตวรรษที่ 8 ก่อนคริสต์ศักราช ทัวร์อุซเบกิสถาน ซึ่งการค้นพบในเวลาต่อมาที่ทำให้กระจ่างเกี่ยวกับประวัติศาสตร์ยุคกลางของซามาร์คันด์ ตัวอย่างเช่น ซากปรักหักพังของพระราชวังซามานิด ที่สร้างขึ้นในศตวรรษที่ 9 ก็ถูกค้นพบที่นี่ แม้ว่าจะไม่รอดมาจนถึงปัจจุบันก็ตาม สิ่งประดิษฐ์โบราณทั้งหมดที่พบในระหว่างการขุดค้นปัจจุบันถูกเก็บไว้ในพิพิธภัณฑ์ที่ตั้งอยู่ด้านหน้าทางเข้าแหล่งโบราณคดีแห่งนี้
พิพิธภัณฑ์อะโฟรเซียบ ได้จัดแสดงตามลำดับเวลาของอารยธรรม โดยห้องโถงแรก ประกอบด้วยภาพถ่ายการขุดค้นและแผนที่นูนต่ำ ที่แสดงถึงการขยายตัวของเมืองทางตอนใต้ของผู้ปกครองป้อมปราการ (ซิตาเดล) และห้องอื่นๆ ผู้เยี่ยมชมจะได้เห็นวิวัฒนาการของอะฟราซิยาบตลอดหลายศตวรรษ ซึ่งเห็นได้จากเซรามิกและสถาปัตยกรรมในยุคแรก ที่ได้รับการปรับปรุงด้านสุนทรียะจากยุคเกรโค-แบคเทรียน รวมถึงของที่ระลึกอื่นๆ จากการมาเยือนของอเล็กซานเดอร์มหาราช ได้แก่ เหรียญเงิน ดาบ และมีด ลัทธิโซโรแอสเตอร์ในสมัยกุษาณะ ซึ่งเห็นได้จากแท่นบูชาสำหรับเครื่องบูชาไฟ อิฐที่มีสัญลักษณ์สุริยคติ และโกศประดับสำหรับกระดูกของผู้ตาย ลัทธิท้องถิ่นยังเจริญรุ่งเรืองด้วยรูปปั้นดินเผาของ “อะนาฮิตา” เทพีแห่งน้ำ ซึ่งเทพแห่งอะมูร์ ดารยา และความอุดมสมบูรณ์ โดยเทพีทรงถือผลทับทิมที่บรรจุเมล็ดไว้
อนุสรณ์สุสานรุฆบัด
อนุสรณ์สุสานตั้งอยู่ตอนเหนือใกล้ๆ กับสุสานหลวงกูร-เอมีร์ สร้างขึ้นโดย เอมีร์ ติมือร์ ในปี ค.ศ. 1930 ซึ่งเป็นที่ฝังร่างของของ บูร์ฮาเน็ดดิน ซาการจี ชีค ทัวร์อุซเบกิสถาน ซึ่งเป็นนักวิชาการ นักศาสนศาสตร์ยุคกลาง นักเทศน์ และผู้ลึกลับ ซึ่งได้เสียชีวิตในศตวรรษที่ 14 โดยได้เป็นผู้นำมุสลิมในกรุงปักกิ่ง หลังการเสียชีวิตอาบู ซาอิด บุตรชายได้นำร่างของเขามาฝังที่ซามาร์คันด์ โดยฝังไว้ข้างๆ สุสานของ นูริดดิน บาซีร์ อาบู ซาอิด ชีคแห่งซามาร์คันด์
บูร์ฮาเน็ดดิน ซาการจี ชีค เป็นหนึ่งในผู้นำมุสลิมที่โดดเด่น เป็นที่นับถือที่สุดในราชสำนักของอามีร์ ติมือร์ โดยอามีร์ ติมือร์ทรงดำรัสให้สร้างสุสานเหนือหลุมศพของชีค ภายในหลุมศพนอกจากท่านและภรรยาซึ่งเป็นเจ้าหญิงจีน แล้ว ยังเป็นฝังร่างของลูกๆ ของท่านและสมาชิกคนอื่นๆ ในครอบครัวซาการัดซี และสุสานของท่านถือว่าศักดิ์สิทธิ์และทุกครั้งที่อามีร์ ติมือร์เสด็จผ่าน มักจะลงจากหลังม้าทำความเคารพเสมอ
อาหารท้องถิ่นของซามาร์คันด์
อาหารอุซเบกมีรสชาติไม่เผ็ดร้อนมากนัก มีรสชาติอร่อย โดยมีเครื่องเทศหลัก ได้แก่ ยี่หร่าดำ พริกแดง พริกไทย บาร์เบอร์รี่ ผักชี และเมล็ดงา สมุนไพรที่พบบ่อย ได้แก่ ผักชี (ผักชีสด) ผักชีลาว ผักชีฝรั่ง เซเลริแอก และโหระพา เครื่องปรุงรสอื่นๆ ได้แก่ น้ำส้มสายชูหมัก ซึ่งนิยมใช้กับสลัดและการหมักต่างๆ และผลิตภัณฑ์นมหมัก
ข้าวหมกเนื้อ
ปลอฟ หรือ ปาลอฟ เป็นชื่อเรียกของข้าวหมกเนื้อของชาวอุซเบก ซึ่งมีส่วนประกอบหลักเป็นข้าวบาสมาติ เนื้อวัวหรือเนื้อแกะทอดหรือต้ม แครอท หัวหอมใหญ่ กระเทียม เมล็ดยี่หร่า ถั่วลูกไก่ และลูกเกดหรือเพิ่มความหลากหลายด้วยผลไม้อื่นๆ โดยทานร่วมกับน้ำสลัดมะเขือเทศ เป็นอาหารประจำชาติของอุซเบกิสถาน ซึ่ง ออชปาช หรือ มาสเตอร์เชฟ มักจะปรุงปาลอฟในกระทะใบใหญ่มากบนเปลวไฟร้อน ผู้ชายชาวอุซเบกจะภูมิใจกับความสามารถในการเตรียมปาลอฟที่มีเอกลักษณ์และหรูหราที่สุด ซึ่งต้องใช้เวลาหลายปีในการฝึกฝน โดยไม่มีพื้นที่สำหรับความล้มเหลวในการเตรียมอาหาร ซึ่งบางครั้งอาจต้องใช้ข้าวมากถึง 100 กิโลกรัม และต้องสามารถเสิร์ฟคนได้ถึง 1,000 คน จากกระทะหรือหม้ออบใหญ่ใบเดียว ซึ่งปลอฟนิยมเสิร์ฟในงานเลี้ยงหรืองานประเพณีต่างๆ
อุซเบกปาลอฟ เป็นข้าวหมกเนื้อในเวอร์ชั่นอุซเบก ที่แตกต่างจากข้าวหมกเนื้อในถิ่นอื่น ที่เรียกชื่อแตกต่างออกไปอย่าง พิลาฟ เบอรยานี่ และสำหรับเวอร์ชั่นในประเทศไทยก็คือ ข้าวหมกไก่
ชาอุซเบก
เป็นเครื่องดื่มที่ดีที่สุดในประเพณีตะวันออกที่เดินทางมาจากจีน โดยจะให้เสิร์ฟให้กับแขกทุกคนก่อน และยังมีขั้นตอนย่อยมากมายที่เกี่ยวข้อง ตั้งแต่การเตรียม การเสิร์ฟ จนกระทั่งการดื่มชา และชาเขียวเป็นเครื่องดื่มแห่งการต้อนรับและโดดเด่น ในขณะที่ชาดำเป็นที่นิยมในทาชเคนต์ ตามประเพณีแล้วชาและชาเขียวจะไม่ค่อยเติมนมหรือน้ำตาลลงไป
อาหารที่กินร่วมกับการดื่มชา ได้แก่ ซัมซา ซึ่งเป็นขนมอบในเตาทันดูร์ ที่ยัดใส้ด้วยเนื้อสัตว์สับ (ดั้งเดิมจะเป็นเนื้อแกะ) รสเผ็ด หรือผัก และชีส, นาน อุซเบกี (ขนมปังอุซเบกซึ่งรูปร่างและรสชาติแตกต่างกันไปตามภูมิภาค), แฮลวอ หรือ ฮาลวา เป็นขนมหวานที่มีลักษณะคล้ายเค้ก ละลายในปาก ช่วยให้มีอารมณ์เชิงบวก ขณะกินร่วมกับการดื่มชา แฮลวอมีหลายประเภทในอุซเบกิสถาน ซึ่งมักจะผสมถั่วต่างๆ เติมผงโกโก้, ช็อคโกแลต, วานิลลา และอาหารทอดต่างๆ
ชอยโฮน่า
โรงน้ำชาภายใต้ชื่อเรียกว่า “ชอยโฮน่า” เป็นรากฐานทางวัฒนธรรมของสังคมอุซเบกแบบดั้งเดิม โดยชอยโฮน่ามีร่มเงาอยู่เสมอ ควรตั้งอยู่ใกล้กับลำธารที่มีอากาศเย็น เป็นแหล่งรวมตัวทางสังคมและความเป็นพี่น้องกัน โดยผู้ชายจะล้อมวงรอบโต๊ะเตี้ยๆ ที่รองด้วยพรมโบราณ พร้อมด้วยอาหารและเครื่องดื่มเต็มโต๊ะ ไม่ว่าจะเป็นปาลอฟ เคบับ และชาเขียวมากมายนับไม่ถ้วน เป็นต้น
หากต้องการทำทริปส่วนตัว ทัวร์อุซเบกิสถาน โปรดติดต่อสอบถามโดยตรง 02-5874982 สามารถทำกรุ๊ปเล็ก แพคเกจท่องเที่ยว เที่ยวส่วนตัว หรือกรุ๊ปใหญ่ 16 คน ขึ้นไป กำหนดวันที่ท่องเที่ยวได้ตามความต้องการ
(ไม่มีกรุ๊ปเปิดขายหน้าร้าน)