ทัวร์อินเดียใต้ Ep.1 มีนักษัตร อัมมัน มหาเทวาลัยอันยิ่งใหญ่แห่งมธุไร
เทวาลัยมีนักษี (Meenakshi Temple)
เทวาลัยมีนักษี อัมมัน หรืออีกชื่อ มีนักษีสุนทเรศวร เป็นหนึ่งเทวสถานฮินดูที่เก่าแก่และสำคัญที่สุดในอินเดีย ตั้งอยู่ในเมืองมธุไร รัฐทมิฬนาฑู ทางใต้สุดของอินเดีย เป็นเทวสถานที่มีความสำคัญมากทางประวัติศาสตร์และตำนาน โดยเชื่อกันว่าพระศิวะได้ทรงอวตารเป็นชายรูปงามชื่อ “สุนทเรศวร” ที่ได้แต่งงานกับ “มีนักษี” ซึ่งเป็นองค์อวตารของพระแม่ปารวตี
นอกจากความขลังของเรื่องราวเกี่ยวการอวตารของพระศิวะและพระนางปราวตี เทวสถานแห่งนี้ยังมีสถาปัตยกรรมสุดวิจิตรอลังการ และน่าทึ่งสุด ๆ ซึ่งอินเดียยกให้เป็นหนึ่งในสิ่งมหัศจรรย์ของอินเดีย และบางคนเชื่อว่าสามารถเทียบได้กับ 7 สิ่งมหัศจรรย์ของโลก โดยมีผู้ศรัทธานับหมื่นคนต่อวันได้หลั่งไหลเข้ามาแสวงบุญ โดยเฉพาะในช่วงเทศกาล “ติรูกัลยานัม Tirukalyanam” ที่มีช่วงการจัดงานถึง 10 วัน ทำให้มีผู้คนแห่แหนเข้าร่วมงานมากกว่า 1 ล้านคน แม้จะมีผู้คนมากมายเข้ามาร่วมพิธีตลอดทั้งวันทั้งคืน แต่การบำรุงรักษาเทวสถานก็ได้รับการดูแลอย่างดี สะอาด จนได้ฉายาว่า Best Swachh Iconic Place มีความหมายว่า สถานสถิตรูปเคารพที่สะอาดที่สุด ในอินเดีย
# ทัวร์อินเดียใต้ # ทัวร์อินเดียใต้ # ทัวร์อินเดียใต้
ทัวร์อินเดียใต้ เทวาลัยมีนักษี
โดดเด่นเป็นสง่าสวยงามน่าทึ่งเมื่อมองจากระยะไกล
ทัวร์อินเดียใต้ เทวาลัยมีนักษี
เสาสลักเป็นพันต้นแบกรับเพดานสีสันสดใสสวยงาม
ประวัติศาสตร์
ตามประวัติที่เล่าต่อ ๆ กันมา เทวาลัยมีนักษี แห่งนี้มีอายุย้อนไปราวคริสต์ศตวรรษที่ 1 โดยเหล่านักวิชาการได้อ้างว่าเทวสถานแห่งนี้สร้างขึ้นโดยกษัตริย์ราชวงศ์ปัณฑยะพระนามว่า กุลาเชการ์ ปัณฑยะ Kalashekarar Pandya พระองค์ทรงก่อสร้างเทวาลัยตามคำแนะนำของพระศิวะในพระสุบินของพระองค์ ในศาสนคัมภีร์ของฮินดูในสมัยคริสต์ศตวรรษที่ 1-4 กล่าวว่าเทวสถานแห่งนี้ เป็นโครงสร้างแกนกลางของเมือง ในขณะศาสนคัมภีร์ในต้นคริสต์ศตวรรษที่ 6 ได้กล่าวว่าเทวสถานแห่งนี้เป็นที่ประชุมพบปะกันของเหล่าปราชญ์เมธี มาหารือเกี่ยวกับเรื่องสำคัญต่าง ๆ ของเมือง
ในช่วงคริสต์ศตวรรษที่ 14 มาลิก คาฟูร์ ผู้บัญชาการกองทัพสุลต่านแห่งเดลี ได้กรีฑาทัพจากทางเหนือเข้าพิชิตดินแดนต่าง ๆ ของอินเดียใต้โดยเข้าปล้นทรัพย์สินต่างๆ ของวัดหลายแห่งตลอดเส้นทางซึ่งรวมถึง วัดมีนักษีอันเลื่องชื่อแห่งแดนใต้ด้วย โดยของมีค่า เช่น ทองคำ เงิน และอัญมณีล้ำค่ามากมายถูกรวบรวมนำกลับไปที่เดลี ทิ้งไว้เพียงซากปรักหักพัง หลังจักรวรรดิฮินดู วิชัยนคร Vijaya Nagara สามารถยึดเมืองมธุไรมาจากอุ้งมือของสุลต่านแห่งเดลีได้สำเร็จ เทวาลัยมีนักษีจึงได้รับการบูรณะขึ้นมาใหม่และขยายอาณาเขตให้เทวสถานมีขนาดใหญ่โตในรัชสมัยของกษัตริย์วิษวนฐา นายกะ แห่งราชวงศ์นายกะ โดยก่อสร้างตามรูปแบบสถาปัตยกรรมของ “ศิลป์ศาสตรา” ซึ่งเป็นตำราโบราณว่าด้วยการก่อสร้างเทวสถานฮินดู
ในปีค.ศ 1623-1655 รัชสมัยของ ธิรุมาลัย นายัก กษัตริย์ผู้ปกครองมธุไร ได้สร้างห้องโถงที่มีเสาจำนวนมาก ที่เรียกว่า “มัณฑะปัม Mandapams” และขยายพื้นที่เทวาลัยเพิ่มเติมโดยผู้ปกครองหลายพระองค์รัชสมัยต่อมา จนกระทั่งการเข้ามาของบริษัทอินเดียตะวันออกของอังกฤษ ทำให้เทวาลัยเข้าสู่ยุคเสื่อมอีกครั้ง บางส่วนถูกทำลายระหว่างการปกครองของบริติช ราช ที่เข้ามาล่าอาณานิคม
ในปี ค.ศ. 1959 ชาวทมิฬฮินดูรวบรวมเงินบริจาคและร่วมมือกับนักประวัติศาสตร์และวิศวกร บูรณะเทวลัยจนเสร็จสมบูรณ์ในปี ค.ศ. 1995
# ทัวร์อินเดียใต้ # ทัวร์อินเดียใต้ # ทัวร์อินเดียใต้
โครงสร้างของเทวลัย (Temple Structure)
ด้วยขนาดพื้นที่กว่า 14 เอเคอร์ ล้อมรอบด้วยกำแพงขนาดใหญ่ที่สร้างขึ้นเพื่อป้องกันผู้รุกราน ใจกลางเมืองมธุไร เมื่อมองจากมุมสูงจะเห็นโครงสร้างเทวลัยที่สร้างตาม จักรวาลคติ โดยมี มัณฑละ (Mandala) เป็นโครงสร้างที่สร้างขึ้นตามกฎของความสมมาตร โดยมีศาลเทพสถิตหลักสองแห่ง ที่อุทิศให้กับ องค์เทพสุนฑเรศวร และ องค์เทวีมีนักษี นอกจากนี้ยังมีศาลเทพสถิตอื่น ๆ เช่น องค์พระพิฆเนศ Ganesha และ พระขันธกุมาร Murugan รวมถึงศาลสถิตของพระลักษมีชายาของพระวิษณุ (ผู้พี่) พระรักมินี (ผู้น้อง) และพระสรัสวดี ชายาของพระพรหมอีกด้วย
ภายในเทวาลัยยังมีบ่อน้ำศักดิ์สิทธิ์ “โปตระมาลัย กุลาม Potramarai Kulam” ซึ่งมีความหมายตามตัวอักษรว่า “สระน้ำที่มีดอกบัวสีทอง” ว่ากันว่าพระศิวะให้พรสระนี้และประกาศว่า “ไม่มีสัตว์ทะเลใด ๆ จะเติบโตในสระนี้ได้”
เทวลัยมีทางเข้าขนาดใหญ่มหึมาที่เรียกว่า “โคปุรัม Gopuram” มีลักษณะสถาปัตยกรรมที่เหมือนกัน ตั้งตระหง่านอยู่ทั้งสี่ทิศ มีทั้งหมด 14 ประตูที่ถูกสร้างเป็นชั้น ๆ หลายชั้นลดหลั่นกันลงมา แสดงเรื่องราวในตำนานต่าง ๆ นับพันเรื่อง และภายในยังมีโคปุรัมน้อยใหญ่ทำหน้าที่เป็นประตูสู่ศาลสถิตของเหล่าเทพต่าง ๆ ซึ่งโคปุรัมที่สำคัญของเทวลัยมีดังต่อไปนี้
- โคปุรัมกาฑก (Kadaka Gopuram) เป็นประตูห้าชั้นสูงตระหง่านที่นำไปสู่ศาลเทพสถิตหลักของ เทวีมีนักษี สร้างขึ้นช่วงกลางศตวรรษที่ 16 โดย “กษัตริย์ตุมปิจิ นายักการ์ Tumpichi Nayakkar”
- โคปุรัมศาลเทพสถิตสุนฑเรศวร (Sundareswarar Shine Gopuram) ซึ่งเป็นโคปุรัมที่เก่าแก่ที่สุดของเทวสถาน สร้างโดยกษัตริย์ กุลาเชการ์ ปัณฑยะ ทำหน้าที่เป็นประตูสู่ศาลเทพสถิตสุนฑเรศวร ซึ่งเป็นองค์อวตารของพระศิวะ
- โคปุรัมจิตระ Chitra Gopuram สร้างโดยกษัตริย์ มารวรมัน สุนฑระ ปัณฑยัน ที่ 2 Maravarman Sundara Pandyan I เป็นประตูที่แสดงแก่นสาระของศาสนาและวิถีฆราวาสของศาสนาฮินดู
- โคปุรัมนาฑึกกัตฎุ Nadukkattu Gopuram เป็นประตูนำไปสู่ศาลพระพิฆเนศ ซึ่งตั้งอยู่ระหว่างศาลเทพสถิตหลักทั้งสองแห่ง
- โคปุรัมมตไต Mottai Gopuram เป็นโคปุรัมที่มีรูปปูนปั้นน้อยกว่าประตูอื่น ๆ แต่ที่น่าสนใจ คือ เป็นโคปุรัมที่ไม่มีหลังครับมาเกือบสามศตวรรษแล้ว
- โคปุรัมนายกะ Nayaka Gopuram สร้างขึ้นราวปี ค.ศ. 1530 โดยกษัตริย์วิสวัปปา นายักการ์ ซึ่งเป็นโคปุรัมที่มีลักษณะคล้ายกับประตูอื่น ๆ ที่เรียกว่า โคปุรัมปาลไฮ Palahai Gopuram อย่างน่าอัศจรรย์
เทวลัยมีนักชีมีห้องโถงหลายเสา ที่เรียกว่า “มณฑป Mandapams” ถูกสร้างขึ้นโดยกษัตริย์และจักรพรรดิหลายพระองค์ และเป็นที่พำนักของเหล่าผู้ศรัทธาที่มาแสวงบุญ และมณฑปที่สำคัญบางส่วน ได้แก่
- อยิรักกาล มณฑป (Ayirakkal Mandapam) มีควาหมายว่า ห้องโถงที่มีเสานับพัน สร้างโดย กษัตริย์อริยนัฎฐา มุฑไลยา (Ariyanatha Mudaliar) ซึ่งเสาจริงมีทั้งหมด 985 ต้น โดยเสาแต่ละต้นมีการแกะสลักอย่างวิจิตรงดงาม และมีรูปของตัว
- กิลิกนฑู มณฑป (Kilikoondu Mandapam) มณฑปนี้เดิมสร้างขึ้นใช้เป็นที่อยู่อาศัยของนกแก้วหลายร้อยตัว นกแก้วที่ถูกเลี้ยงในกรงจะถูกฝึกให้พูดว่า “มีนักษี” ห้องโถงที่อยู่ถัดจากศาลเทวีมีนักชี มีประติมากรรมตัวละครที่มาจากมหากาพย์ภารตะ
- อัชตา ศักติ มณฑป (Ashta Shakti Mandapam) มณฑปนี้เป็นที่ประดิษฐานของรูปปั้นของเทวีแปดองค์ สร้างโดยราชินีสองพระองค์ โดยตั้งอยู่ระหว่างโคปุรัมหลักกับโคปุรัมกาฑก
- นายกะ มณฑป (Nayaka Mandapum) มณฑปนี้เป็นสร้างโดยกษัตริย์ชินนัปปา นายัคการ์ โถงของมณฑปมีเสานับร้อยต้น เพื่อรองรับโครงสร้างและภายในเป็นที่ประดิษฐานของพระศิวะนาฎราช
# ทัวร์อินเดียใต้ # ทัวร์อินเดียใต้ # ทัวร์อินเดียใต้
ทัวร์อินเดียใต้ : รูปแผนผังเทวาลัยมีนักษีสุนทเรศวร
ที่มา https://tapioca.co.in/deities-inside-meenakshi-temple
ความสำคัญและการสักการะบูชา (Significance & Worship)
เนื่องจากองค์เทวีมีนักษีเป็นเทพเจ้าหลักของเทวสถานแห่งนี้ ซึ่งหมายถึงการให้ความสำคัญกับผู้หญิงในครอบครัวชาวทมิฬฮินดู และแสดงให้เห็นถึงความสัมพันธ์อันดีระหว่างนิกายต่างๆ ไม่ว่าจะเป็น ไศวนิกาย ไวษณพนิกาย และศักตินิกาย ผ่านการปรากฏกายขององค์เทพสำคัญของแต่ละนิกายที่มาร่วมงานพิธีเสกสมรสครั้งนี้ และศาลสถิตเทพขององค์เทพสุนฑเรศวร ซึ่งอยู่รูปฟอร์ม รชตะ สไภ (Rajata Sabhai) เป็นหนึ่งในห้าของ ปัญจะ สไภ (Pancha Sabhai) มีความหมายว่า ศิวนาฎราชทั้งห้ารูปฟอร์ม ซึ่งเชื่อว่าพระศิวะได้แสดงการเต้นรำแห่งจักรวาล โดยพิธีกรรมจะมีการจัดขบวนแห่รูปเคารพขององค์สุนฑเรศวรที่อยู่บนเกวียน เคลื่อนย้ายไปยังศาลสถิตเทวีมีนักษีทุกคืน และจะนำกลับมายังศาลสุนฑเรศวรตอนเช้า เหล่าผู้ศรัทธาจะบูชาเทวีมีนักชีก่อนที่จะต่อด้วยการสวดมนต์สักการะถึงองค์เทพสุนฑเรศวร
เทศกาล (Festival)
นอกจากเทศกาลฉลองการเสกสมรสของทวยเทพแล้ว ยังมีเทศกาลอื่น ๆ อีกมากมายภายในวัด เช่น เทศกาลวสันต์ธรรม (Vasantham Festival) หรือ เทศกาลฤดูใบไม้ผลิ จัดขึ้นทุกปีในเดือนพฤษภาคม ใช้ระยะเวลาสิบวันและในวันสุดท้ายสำหรับผู้ที่ต้องการถวายนมและมะม่วงให้แด่องค์เทพ โดยอันเชิญองค์เทพสุนฑเรศวรขึ้นเกวียนแล้วแห่ไปยังศาลสถิตขององค์เทวีมีนักชีในตอนค่ำ และกลับไปยังศาลสถิตขององค์เทพสุนฑเรศวรในตอนเช้า เทศกาลอุลจาล (Unjal Festival) หรือเทศกาลชิงช้า จัดขึ้นทุกปีในเดือนมิถุนายน ซึ่งองค์เทพสุนฑเรศวรและเทวีมีนักษีจะถูกเชิญขึ้นชิงช้าและเขย่าเบา ๆ ในห้องกระจก ซึ่งเทศกาลจะจัดในมณฑปร้อยเสาของเทวสถาน และเทศกาลในเดือนอื่นๆ เช่น
เทศกาลจิตถิไร (Chithirai Festival) จัดในเดือนเมษายน
เทศกาลอาฑิ มูลัม (Aadi Mulai Kottu Festival) จัดในเดือนกรกฎาคม
เทศกาสอาวานี มูลัม (Aavani Moolam Festival) จัดในเดือนสิงหาคม
# ทัวร์อินเดียใต้ # ทัวร์อินเดียใต้ # ทัวร์อินเดียใต้
รวมภาพ ทัวร์อินเดียใต้
ทัวร์อินเดียใต้
เทวาลัยมีนักษี
ทัวร์อินเดียใต้
เทวาลัยมีนักษี อัมมัน
ทัวร์อินเดียใต้
เทวาลัยพฤหธิศวร ในตันจาวูร์
ทัวร์อินเดียใต้
เทวาลัยศรี ชุมพูเกศวาระ ในเมืองติรุจิรปัลลิ
ทัวร์อินเดียใต้
บาซาร์เล็กๆ ภายในเทวาลัยมีนักษีสุนทเรศวร
ทัวร์อินเดียใต้
เทวาลัยชอร์ เมืองมหาบาลีปุรัม