ทัวร์อียิปต์ : วิหารแห่งฟิเล Philae Temple

ทัวร์อียิปต์

ทัวร์อียิปต์ : วิหารแห่งฟิเล Philae Temple

ทัวร์อียิปต์ : วิหารแห่งฟิเล Philae Temple

กลุ่มวิหารอียิปต์โบราณแห่งฟิเล เคยตั้งอยู่บนเกาะฟิเลกลางแม่น้ำไนล์ โดยบริเวณที่ตั้งเดิมของกลุ่มวิหารถูกน้ำท่วม จากการสร้างเขื่อนอัสวานล่าง ทำให้ต้องถูกรื้อย้ายขึ้นมาตั้งอยู่บนเกาะที่ชื่อ อาจีลเคีย โดยได้รับการขึ้นทะเบียนเป็นมรดกโลกโดยยูเนสโก้ในปี ค.ศ. 1979

เกาะอาจีลเคีย เป็นเกาะเล็กๆ ตอนเหนือของเกาะฟิเล หน้าเขื่อนอัสวานต่ำ ในทะเลสาบนาสเซอร์ คำว่า “อาจีลเคีย Agilkia” เป็นชื่อที่ได้รับเลือกสำหรับจุดลงจอดฟิเลบนดาวหาง 67P ของดาวเทียมโรเซตต้า ปี ค.ศ. 2004 โดยในการลงจอดครั้งแรกทำให้ดาวเทียมกระดอนห่างจากจุดอาจีลเคีย ออกไปไกลหนึ่งกิโลเมตร ซึ่งเรียกจุดนั้นว่า “อบีดอส Abydos” ซึ่งเป็นหนึ่งในเมืองสำคัญทางประวัติศาสตร์ของอียิปต์โบราณแห่งหนึ่ง

ฟิเล Philae เป็นภาษากรีก หมายถึง การทำเครื่องหมายขอบเขตกับนูเบีย มีชื่อในภาษาอาหรับว่า “ยาซิรัต ฟิเลาะห์ Jazirat Filah” มีความหมายว่า เกาะฟิเล หรือ “ยาซิรัต อัล-ไบรบา Jazirat al-Birba” มีความหมายว่า เกาะวิหาร เป็นเกาะในแม่น้ำไนล์ระหว่างเขื่อนอัสวานต่ำ (เก่า) และเขื่อนอัสวานสูง (ใหม่) ทางตอนใต้ของประเทศอียิปต์ เดิมมีชื่อเรียกสมัยอียิปต์โบราณว่า “ปาเลฆ Paaleq” และ “ปิลาค Pilak” ในภาษาคอปติก มีความหมายว่า “จุดจบ” เชื่อว่าพระศพของเทพโอซิริสถูกฝังอยู่ที่นี่ หรือ “สถานที่ห่างไกล” เนื่องจากเป็นดินแดนอียิปต์ที่ห่างไกลหรือชายขอบอาณาจักร ในขณะที่คนท้องถิ่นรู้จักในชื่อ “ฆาส์ร อนาส อัล-วูจูด Qaṣr Anas al-Wujūd” ซึ่งมีความหมายว่า วีรบุรุษพันหนึ่งราตรี ซึ่งเป็นเกาะใหญ่ทางเหนือของเกาะฟิเล ปัจจุบันเกาะฟิเลเป็นที่อยู่อาศัยของคนท้องถิ่นและผู้ประกอบการที่เกี่ยวที่พักและบริการที่เนื่องกับการท่องเที่ยวกลุ่มวิหารแห่งฟิเล

ตั้งแต่สมัยอียิปต์โบราณยุคแรก เกาะแห่งนี้เป็นที่เคารพสักการะแด่องค์เทพีไอซิส โดยโครงสร้างที่เก่าแก่ที่สุดสร้างขึ้นในสมัย ฟาโรห์ทาฮาร์ฆา (ครองราชย์ระหว่าง 690-664 ปีก่อนคริสตกาล) และฟาโรห์แห่งราชวงศ์คูไซเตที่ 25 (ครองราชย์ระหว่าง 664-525 ปีก่อนคริสตกาล) ซึ่งถูกรื้อและนำกลับมาสร้างขึ้นใหม่ในสมัยฟาโรห์ทอเลมี เนคตาเนโบที่ 2 (ครองราชย์ระหว่าง 360-343 ปีก่อนคริสตกาล) ฟาโรห์องค์สุดท้ายของราชวงศ์ที่ 30 และผู้ปกครองอียิปต์อิสระคนสุดท้าย (ปกครองก่อนปี ค.ศ. 1952) โดยได้เพิ่มแนวเสาในปัจจุบัน

โครงสร้างที่ซับซ้อนของวิหารแห่งองค์เทพไอซิส สร้างเสร็จโดยฟาโรห์ทอเลมีที่ 2 ฟิลาเดลฟัส (ครองราชย์ระหว่าง 285-246 ปีก่อนคริสตกาล) และฟาโรห์ทอเลมีที่ 3 ยูเออร์เกเตส (ครองราชย์ระหว่าง 246-221 ปีก่อนคริสตกาล) แต่การตกแต่งอาคารสืบตั้งแต่ยุคกรีกทอเลมีจนถึงยุคโรมันในสมัยจักรพรรดิโรมันออกุสตุสและจักรพรรดิไทเบอริอุส (ระหว่าง 30 ปีก่อนคริสตกาล – ปี ค.ศ. 37) ยังไม่เสร็จสมบูรณ์ และจักรพรรดิเฮเดรียนแห่งโรมัน (ครองราชย์ระหว่าง ปึ ค.ศ. 117-138) ได้เพิ่มประตูทางตะวันตกของอาคาร วิหารเล็กๆ อื่นๆ ที่อุทิศให้กับเทพเจ้าอียิปต์ ได้แก่ วิหารมหาอำมาตย์อิมโฮเทป และวิหารแห่งองค์ฮาธอร์ รวมถึงวิหารน้อยสำหรับองค์เทพโอซิริส เทพฮอรัส และเทพเนฟธีส

วิหารแห่งองค์เทพไอซิส ยังคงรุ่งเรืองเฟื่องฟูอย่างต่อเนื่องในยุคโรมันและไม่ได้ถูกปิดกั้นห้ามดำเนินพิธีกรรมทางศานาใด จนกระทั่งมาถึงยุคจักรพรรดิจัสติเนียนที่ 1 (ครองราชย์ระหว่าง ปึ ค.ศ. 527-565) ในช่วงปลายรัชกาลได้มีคำสั่งให้วิหารดัดแปลงเป็นโบสถ์คริสต์ และโบสถ์คริสต์นิกายคอปติกอีกสองแห่งถูกสร้างเพิ่มขึ้นในเมืองที่ยังคงรุ่งเรืองในอียิปต์

ก่อนที่จะถูกน้ำท่วม โครงสร้างทั้งหมดได้รับการสำรวจและเก็บรายละเอียดอย่างถี่ถ้วน ในระหว่างปี ค.ศ. 1895-96) และในปี ค.ศ. 1907 พบว่าเกลือในแม่น้ำไนล์เป็นอันตรายต่อสีบนวัสดุประดับวิหาร และวิหารต่างๆ ได้ฟื้นคืนสภาพกลับมาอีกครั้งหลังปี ค.ศ. 1970 แต่หลังการสร้างเขื่อนอัสวานสูงเสร็จสิ้น พบว่าวิหารเล็ก ๆ ได้รับความเสียหายมากมาย จึงมีการตัดสินใจย้ายกลุ่มวิหารแห่งฟิเลยไปยังที่สูงบนเกาะอาจีลเคีย และเกาะที่ตั้งใหม่นี้ถูกปรับระดับให้คล้ายกับเกาะฟิเลดั้งเดิม วิหารต่างๆ ถูกสร้างขึ้นใหม่ เพื่อฟื้นฟูความงดงามคงเดิมบางส่วนก่อนที่จะเปิดให้เข้าชมอย่างเป็นทางการในปี ค.ศ. 1980

การก่อสร้างกลุ่มวิหารแห่งฟิเล่ The Construction of Temple of Philae

ลักษณะเด่นที่สุดของเกาะทั้งสองแห่ง เกาะฟิเลและเกาะอาจีลเคีย คือความมั่งคั่งทางสถาปัตยกรรม อนุสรณ์สถานในยุคต่างๆ ตั้งแต่ฟาโรห์อียิปต์โบราณไปจนถึงจักรพรรดิแห่งโรมันและผู้ปกครองอียิปต์อิสระคนสุดท้าย โดยโครงสร้างหลักตั้งอยู่ทางตอนใต้สุดของเกาะอาจีลเคีย

สิ่งก่อสร้างที่เก่าแก่ที่สุดคือ วิหารแห่งองค์เทพีไอซิส  ซึ่งสร้างขึ้นในรัชสมัยของฟาโรห์เนคตาเนโบที่ 1 (ระหว่าง 380-362 ปีก่อนคริสตกาล)  และซากสิ่งก่อสร้างส่วนใหญ่จะเริ่มสร้างในสมัยอาณาจักรทอเลมี โดยเฉพาะอย่างยิ่งในรัชสมัยของฟาโรห์ทอเลมีที่ 2 ฟิลาเดลฟัส ฟาโรห์ทอเลมีที่ 5 เอพิฟาเนส และฟาโรห์ทอเลมีที่ 6 ฟิโลเมเตอร์ (ระหว่าง 282-145 ปีก่อนคริสตกาล) โดยมีร่องรอยของงานโรมันมากมายในฟิเลที่อุทิศให้กับเทพอามุน-โอซิริส

ด้านหน้าของมุขทางเข้าวิหาร (โพรพิล่า Propyla) มีสิงโตหินแกรนิตขนาดใหญ่สองตัวประดับอยู่ ด้านหลังมีเสาโอเบลิสก์คู่ สูง 13 เมตร  โดยมุขทางเข้าวิหารเป็นทรงปิรามิดขนาดใหญ่ตั้งอยู่ระหว่างทางเดิน (โดรโมส dromos) เข้าวิหารกับมุขหน้าประดับวิหาร (โพรนาออส pronaos) และโพรพิล่าอีกอันอยู่ระหว่างโพรนาออสกับระเบียง ในขณะที่โพรพิล่าอันเล็กกว่า ซึ่งนำไปยัง เซคอส Sekos หรือ อดีตัน Adyton ซึ่งเป็นส่วนที่ศักดิ์สิทธิ์ที่สุดของวิหาร ที่แต่ละมุมของ อดีตุม adytum ซึ่งเป็นพื้นที่หวงห้าม (ของวิหารกรีกและโรมัน) จะเป็นที่ตั้งของวิหารหินซึ่งเป็นกรงของเหยี่ยวศักดิ์สิทธิ์ หนึ่งในวิหารเหล่านี้ตอนนี้อยู่ที่พิพิธภัณฑ์ลูฟร์ ในฝรั่งเศส ส่วนวิหารหินอีกแห่งถูกจัดแสดงอยู่ที่พิพิธภัณฑ์ในเมืองฟลอเรนซ์ประเทศอิตาลี

นอกเหนือจากทางเข้าวิหารหลักที่เป็นวิหารหินขนาดเล็ก หนึ่งในนั้นสร้างอุทิศแด่เทพีไอซิส เทพฮาธอร์ และเทพต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับการผดุงครรภ์ ปกคลุมไปด้วยรูปสลักที่พรรณนาถึงการกำเนิดของฟาโรห์ทอเลมี ฟิโลเมเตอร์ ภายใต้รูปสลักองค์เทพฮอรัส เรื่องราวของเทพโอซิริสมีอยู่ทั่วไปบนผนังของวิหารแห่งนี้ และโถงด้านในสองห้องเต็มไปด้วยภาพสัญลักษณ์ บนโพรพิลาอันยิ่งใหญ่ทั้งสองมุขมีจารึกเป็นภาษากรีกตัดกัน บางส่วนถูกทำลายภาพสลักอียิปต์โบราณที่ตัดขวางจารึกดังกล่าว

อนุสรณ์สถานบนเกาะทั้งสองแห่งเป็นเครื่องยืนยันการอยู่รอดมานับศตวรรษของศิลปะอียิปต์บริสุทธิ์ในหุบเขาไนล์ หลังการสิ้นอำนาจของฟาโรห์องค์สุดท้าย ประติมากรรมต่างๆภายในวิหารแห่งนี้ได้รับความเสียหายอย่างเจ็บปวด จากการรื้อถอนทำลายด้วยความกระตือรือร้นของคริสเตียนยุคแรก รวมถึงนโยบายของกลุ่มที่นิยมทำลายรูปเคารพของศาสนาหรือความเชื่ออื่น (ไอคอโนคลาสต์ Iconoclasts) ที่เห็นดีเห็นงามกับราชสำนักไบแซนไทน์ในการทำลายรูปเคารพนอกศาสนา โดยรูปสลักและรูปเคารพของเทพฮอรัส (โอรสของเทพีไอซิสกับเทพโอซิริส) มักถูกทำให้เสียหายน้อยกว่ารูปสลักหินอื่นๆ ในบางฉากบนกำแพง โดยรูปสลักเกือบทุกรูปและข้อความอักษรเฮียโรกลิฟิคอียิปต์โบราณ ที่เกี่ยวกับเทพฮอรัสและตัวแทนของวงรัศมีสุริยะ ได้รับการขัดเกลาโดยคริสเตียนยุคแรกอย่างพิถีพิถัน อาจเป็นเพราะคริสเตียนยุคแรกมีความเคารพฮอรัสและตำนานฮอรัสในระดับหนึ่ง หรืออาจเป็นเพราะพวกคริสเตียนเห็นความคล้ายคลึงกัน ระหว่างเรื่องราวของพระเยซูกับฮอรัสในฐานะบุตรแห่งพระเจ้าก็เป็นได้

ดินสำหรับการวางฐานรากของวิหารแห่งฟิเล ได้รับการเตรียมอย่างพิถีพิถันในการรองรับอาคารต่างๆ โดยปรับระดับดินให้เรียบเสมอกัน และเสริมด้วยอิฐก่อในส่วนที่พังทลายหรือไม่ปลอดภัย เช่น กำแพงด้านตะวันตกของวิหารใหญ่และกำแพงทางเดินสู่วิหาร (โดรโมส dromos) ที่มีฐานรากที่แข็งแรงมากวางอยู่บนหินแกรนิตที่นอนราบบนพื้นแม่น้ำไนล์ บันไดเดิมถูกสกัดออกเพื่อความสะดวกในการสื่อสารระหว่างวิหารกับแม่น้ำ

ที่ปลายทางเดินสู่วิหารทางใต้สุดของวิหารใหญ่ มีวิหารขนาดเล็กๆ ที่สร้างอุทิศให้กับเทพีฮาธอร์ (ชายาของเทพฮอรัส) โดยบนหัวเสาสองสามต้นที่ยังเหลืออยู่ประดับด้วยเศียรเทพีฮาธอร์ ซึ่งเรียกว่า หัวเสาฮาธอริค Hathoric มุขหน้าวิหารประกอบด้วยเสาสิบสองต้น เรียงหน้ากระดานสี่ต้นและเรียงลึกเข้าไปสามต้น ในขณะที่ภาพของเมืองหลวงถูกแทนด้วยของรูปฟอร์มต่างๆ และการผสานกันของกิ่งปาล์มดูม Doum Palm (ปาล์มท้องถิ่นในคาบสมุทรอาหรับและตอนเหนือและตะวันตกของแอฟริกา) และดอกบัว ตลอดจนประติมากรรมบนเสา เพดาน และผนังถูกทาด้วยสีที่สดใสที่สุด เนื่องจากความแห้งกร้านสภาพอากาศ ความร้อน และแสงแดง ทำให้ประติมากรรมสูญเสียความสดใสลงไปเล็กน้อย

ทัวร์อียิปต์
ทัวร์อียิปต์

ทัวร์อียิปต์ : วิหารฟิเล

ทัวร์อียิปต์ : ความงามของวิหารฟิเล ยามค่ำคืน

ประวัติของวิหารแห่งฟิเลก่อนทัวร์อียิปต์

ยุคแรกของการก่อสร้าง Pharaonic era

ความศักดิ์สิทธิ์ของวิหารฟิเลที่เหนือกว่าเมืองอื่นๆ ของอียิปต์ในช่วงยุคกรีก-โรมัน คือ การเป็นศูนย์กลางทางศาสนาของลัทธิไอซิสที่ได้รับการฟื้นฟูโดย ฟาโรห์ซาเมติกที่ 2 แห่งราชวงศ์ที่ 26 ของอียิปต์โบราณ ซึ่งเรียกว่า ยุคไซเต Saite period ระหว่าง 664-524 ปีก่อนคริสตกาล ซึ่งเป็นซุ้มเล็ก ๆ และมีการสร้างต่อเติมโดย ฟาโรห์อเมซิสที่ 2 แห่งราชวงศ์ที่ 26 และฟาโรห์เนคตาเนโบที่ 1 แห่งราชวงศ์ที่ 30 ซึ่งเป็นอาคารยุคแรกของวิหารแห่งนี้ มีเพียงสองส่วนที่สร้างโดยฟาโรห์เนคตาเนโบที่ 1 ที่เหลือรอดมาได้ คือ ซุ้มที่แต่เดิมเป็นส่วนหน้าของวิหารไอซิสเก่า และประตูที่ต่อมาถูกรวมเข้ากับเสาแรกของวิหารปัจจุบัน

ยุคราชวงศ์ทอเลมี Ptolemaic era

หลังการสิ้นพระชนม์ของอเล็กซานเดอร์มหาราช ในปี 323 ก่อนคริสตกาล แม่ทัพทอเลมีซึ่งเป็นพี่ชายร่วมบิดาของพระองค์ ซึ่งเคยได้ปกครองอียิปต์ในฐานะซาทราปแห่งอียิปต์ ก็ได้ประกาศตนเป็นฟาโรห์ทอเลมีที่ 1 ซึ่งชาวอียิปต์ก็ยอมรับในฐานะผู้สืบทองตำแหน่งฟาโรห์แห่งอียิปต์ในเวลาต่อมา เพื่อเป็นการเอาใจชาวอียิปต์ฟาโรห์แห่งราชวงศ์ทอเลมี จึงได้สร้างวิหารถวายเทพและเทพีที่พวกเขาศรัทธา

โดยฟาโรห์ทอเลมีที่ 2 Ptolemy II ได้เริ่มสร้างวิหารหลักแห่งเทพีไอซิสของพระองค์ และวิหารแห่งเทพโอซิริสสำหรับมเหสีของพระองค์ โดยวิหารแห่งโอซิริสถูกสร้างขึ้นบนเกาะบิเกห์ (ปัจจุบันเหลือเพียงประตูทางเข้า) และวิหารแห่งเทพฮอรัสหรือ เทพฮาเรนโดเตส ตามภาษากรีก สำหรับโอรสของพระองค์ รวมถึงสิ่งก่อสร้างอื่น ๆ บนเกาะฟิเล เช่น วิหารมหาอำมาตย์อิมโฮเท็ป ผู้สร้างปิรามิดขั้นบันไดให้แด่ฟาโรห์โซซอร์ แห่งราชวงศ์ที่ 3

โดยสิ่งก่อสร้างในกลุ่มวิหารแห่งฟิเลมากกว่าสองในสามถูกสร้างขึ้นในยุคราชวงศ์ทอเลมี ในระหว่างนั้นเกาะฟิเลได้กลายเป็นสถานที่แสวงบุญสำคัญ ไม่เพียงแค่ชาวอียิปต์และนูเบียเท่านั้น ยังเป็นรู้จักไปไกลถึงคาบสมุทรอนาโตเลียและเกาะครีต รวมถึงกรีกแผ่นดินใหญ่ ซึ่งนักแสวงบุญบางคนแสดงตนด้วยคำปฏิญาณที่จารึกไว้บนผนังวิหาร ในจำนวนนี้มีคำจารึกของชาวโรมันสี่คนที่จารึกทั้งไว้เมื่อ 116 ปีก่อนคริสตกาล ซึ่งก็ได้กลายคำจารึกภาษาละตินที่เก่าแก่ที่สุดในอียิปต์

นอกจากได้รับราชูปถัมภ์จากฟาโรห์แห่งราชวงศ์ทอเลมีแล้ว วิหารฟิเลยังได้รับการอุดหนุนจากกษัตริย์อาร์ฆามานีแห่งนูเบีย ที่ทรงราชูปถัมภ์ให้กับวิหารแห่งอาเรนสนูฟิส วิหารแห่งเมมมิซี่ และวิหารแห่งอดิคาลามานี่ จากคำจารึกบนแผ่นหินบนเกาะฟิเล ซึ่งนักวิชาการบางคนตีความว่า เป็นความร่วมมือระหว่างรัฐบาลนูเบียกับทอเลมี แต่ก็มีคนเห็นแย้งว่า น่าจะเป็นการเข้ามายึดครองพื้นที่ของชาวนูเบียในภูมิภาคนี้ ซึ่งเกิดจากการจลาจลของฮูโกนาฟอร์ ที่สามารถแยกอียิปต์บนออกจากการปกครองของฟาโรห์ทอเลมีที่ 4 แต่ภาพสลักในวิหารของกษัตริย์อาร์ฆามานี่แห่งนูเบีย ได้ถูกลบออกภายหลังโดยฟาโรห์ทอเลมีที่ 5 ในขณะที่แผ่นหินจารึกของกษัตริย์อดิคาลามานี่ ถูกนำกลับมาใช้ใหม่ โดยนำไปเติมใต้พื้นหลังคาไฮโปสไตล์

ยุคโรมัน Roman era

จากหลักฐานที่เชื่อได้ว่าศาสนาคริสต์มีช่วงระยะเวลาหนึ่งในวิหารแห่งฟิเล โดยอยู่ร่วมกับศาสนาแห่งเทพของอียิปต์โบราณ ซึ่งอ้างอิงจากหนังสือโหราศาสตร์ของชาวคริสต์คอฟติก ที่ชื่อ “ชีวิตของอารอน” ซึ่งเป็นของบิชอปองค์แรกของฟิเล กล่าวกันว่าเป็นผู้สังหารนกเหยี่ยวศักดิ์ที่เลี้ยงไว้บนเกาะ ซึ่งเป็นการบูชาแบบดั้งเดิมของชาวอียิปต์ที่เกาะฟิเล ที่ยังดำรงอยู่มากว่าในศตวรรษที่ 5 แม้ว่าจะมีการต่อต้านคนต่างศาสนาในครั้งนั้นก็ตาม

จากคำบันทึกของนักประวัติศาสตร์ในศตวรรษที่ 5 ได้กล่าวถึงสนธิสัญญาในปี ค.ศ. 452 ระหว่าง ผู้บัญชาการมาซิมินุสแห่งโรมันกับดินแดนเบลมมีเย่และโนบาเทียที่ปกครองอียิปต์บน ทำให้ดินแดนเหล่านี้สามารถเข้าถึงความศรัทธาที่มีต่อเทพีไอซิสได้

จากคำบอกเล่าของโปรโคปิอุส นักประวัติศาสตร์โรมันในศตวรรษที่ 6 กล่าวว่า วิหารแห่งฟิเล่แห่งนี้ถูกปิดอย่างเป็นทางการในปี ค.ศ. 537 ตามคำสั่งของจักรพรรดิจัสติเนี่ยนที่ 1 แห่งไบแซนไทน์ ซึ่งถือเป็นจุดสิ้นสุดลงของศาสนาอียิปต์โบราณ แต่วิหารฟิเลยังคงมีความสำคัญในฐานะศูนย์กลางของชาวคริสต์ แม้หลังจากการปิดตัวลงในฐานะศาสนาสถานนอกรีตของชาวอียิปต์โบราณ โดยวิหารห้าแห่งในกลุ่มวิหารแห่งฟิเล่ถูกดัดแปลงเป็นโบสถ์ ซึ่งวิหารแห่งองค์เทพไอซิสถูกเปลี่ยนเป็นโบสถ์แห่งนักบุญสตีเฟนแทน

ยุคศตวรรษที่ 19 1800s

ในศตวรรษที่ 19 ซึ่งเป็นยุคที่อียิปต์อยู่ภายใต้การปกครองของอังกฤษ โดยในช่วงทศวรรษที่ 1820 โจเซฟ โบโนมี่ นักวิชาการอียิปต์วิทยาและภัณฑารักษ์พิพิธภัณฑ์ชาวอังกฤษ รวมถึงอเมเลีย เอ็ดเวิร์ด นักประพันธ์ชาวอังกฤษ ได้มาเยือนเกาะแห่งนี้ในช่วงปีค.ศ. 1873-1874 และได้ประพันธ์เป็นนิราศที่แสดงให้เห็นถึงความสนใจอย่างมากมายที่มีต่ออารยธรรมอียิปต์ในยุควิคตอเรียน ส่งผลต่อการท่องเที่ยวฟิเล่ในเวลาต่อมาไม่นาน จนทำให้โปรแกรมเที่ยวฟิเล่เป็นเส้นทางท่องเที่ยงปกติในทริปท่องอียิปต์บน

ยุคศตวรรษที่ 20 1900s

หลังการสร้างเขื่อนอัสวานล่างเสร็จในปี ค.ศ. 1902 โดยอังกฤษ ทำให้เกิดความกังวลว่าโบราณสถานหลายแห่งที่ตั้งอยู่ในบริเวณแม่น้ำไนล์เสี่ยงที่จะจมอยู่ใต้น้ำ เนื่องจากมีการเพิ่มความสูงของพนังเขื่อนถึงสองครั้ง ในระหว่างปี ค.ศ. 1907-1912 และ 1929-1934 ในขณะนั้นวิหารแห่งฟิเล่ก็จวนเจียนจะถูกน้ำท่วม ในความเป็นจริงมีช่วงเดียวที่กลุ่มวิหารแห่งนี้จะไม่จมอยู่ใต้น้ำ คือ ช่วงประตูน้ำของเขื่อนเปิดตั้งแต่เดือนกรกฎาคม-ตุลาคม จึงมีการเสนอย้ายเทวสถานไปยังเกาะใกล้เคียงอย่างเกาะบิเกต์ (เกาะใหญ่ทางขวาของเกาะฟิเล) หรือ เกาะเอเลเฟนทีน โดยการแยกเป็นชิ้นๆแล้วขนไปประกอบใหม่ โดยฐากรากและโครงสร้างรองรับทางสถาปัตยกรรมของเทวสถาน ได้รับการเสริมให้แข็งแรงมากขึ้นกว่าเดิม

แม้ว่าตัวอาคารต่าง ๆ จะได้รับการดูแลความปลอดภัยทางกายภาพอย่างดี แต่พืชพันธุ์ที่สวยงามและสีสันของภาพนูนต่ำของวิหาร ก็ถูกชะล้างทำลายหายไปจากน้ำที่เอ่อท่วมขึ้นมาก อิฐของวิหารแห่งฟิเล่ถูกปกคลุมด้วยตะกอนดินและเศษซากต่างๆ ที่ไหลพัดมากับแม่น้ำไนล์

สอบถามโปรโมชั่นทัวร์อียิปต์ Line ID : beejourney
Scroll to Top

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • เปิดใช้งานตลอด

บันทึกการตั้งค่า