ทัวร์อุซเบกิสถาน : 4 นครโบราณแห่งเอเชียกลาง บนเส้นทางสายไหมโบราณ ชาฆริซาปซ์
ด้วยรูปลักษณ์ของเมืองสมัยใหม่ที่ได้รับการดูแลเป็นอย่างดี จึงเป็นเรื่องยากที่จะเชื่อว่าเมืองชาฆริซาปซ์แห่งนี้จะมีอายุ 2,700 ปี และเป็นเมืองที่มีบทบาทสำคัญในประวัติศาสตร์ของภูมิภาคเอเชียกลาง เดิมชาฆริซาปซ์เป็นเมืองหลวงของรัฐซอกด์ (Sogd) โบราณ ที่มีชื่อว่า เกช (Kesh) ซึ่งเป็นศูนย์กลางทางวัฒนธรรม การค้า และหัตถกรรมที่มีชื่อเสียง เมื่อ 329 ปีก่อนคริสตกาล ต่อมาในสมัยอเล็กซานเดอร์มหาราชพิชิตดินแดนเอเชียกลางได้ ทำให้วัฒนธรรมกรีกโบราณและลัทธิเทพเจ้ากรีกปรากฏตัวขึ้นที่เมืองโบราณแห่งนี้ และคงอยู่ที่นี่เป็นเวลากว่าพันปีภายใต้การปกครองของราชวงศ์ต่างๆ ที่ผลัดเปลี่ยนขึ้นมามีอำนาจ ทัวร์อุซเบกิสถาน ในศตวรรษที่ 8 ชาฆริซาปซ์ก็เป็นศูนย์กลางของการกบฏต่อต้านอาหรับและต่อต้านการเข้ามาของอิสลาม
ปัจจุบันชาฆริซาปซ์เป็นเมืองท่องเที่ยวสำคัญทางประวัติศาสตร์ เนื่องจากเป็นบ้านเกิดของอามีร์ เตมือร์ (Amir Temur) หรือ ทามือเลน (Tamerlane) ที่หมู่บ้าน “ฮดย่า-อิลการ์ (Hodja-Ilgar)” หลังจากเสด็จขึ้นครองราชย์ ทรงเปลี่ยนหมู่บ้านแห่งนี้ให้เป็นที่ประทับของพระองค์ โดยพระราชดำริสร้างพระราชวัง “อัก-ซาราย (Ak-Saray)” ที่มีความหมายว่า “วังสีขาว” ขึ้น และทรงเปลี่ยนชื่อเมือง เกช (Kesh) เดิม ที่มีความหมายว่า “ถูกใจหรือพอใจ” เดิมให้เป็น เป็น “ชาฆริซาปซ์” ซึ่งมีความหมายว่า “เมืองสีเขียว” ในภาษาเปอร์เซีย
นอกจาก ชาฆริซาปซ์ จะเป็นเมืองประวัติศาสตร์แล้ว เศรษฐกิจของเมืองยังมุ่งเน้นไปที่การแปรรูปและการเก็บรักษาฝ้าย การผลิตเครื่องจักรกลการเกษตร และหัตถกรรม ในขณะเดียวกันชาฆริซาปซ์ยังมีชื่อเสียงในเรื่องการทอพรม ที่มีรูปแบบและลวดลายที่เป็นเอกลักษณ์เฉพาะถิ่น ที่มีการทอที่ประณีต และการทำ หมวกอุซเบก ที่เรียกว่า “ทิวเบ็ตเตอิกะส์ (Tyubeteikas)” ซึ่งเป็นอุตสาหกรรมหัตถกรรมที่มีประวัติศาสตร์มาอย่างยาวนาน และเป็นวัฒนธรรมร่วมกับประเทศเพื่อนบ้าน มีบทความของปรมาจารย์ด้านวรรณกรรมท้องถิ่น ที่ชนะการแข่งขันในงานเทศกาล นิทรรศการระดับนานาชาติมากมาย นอกจากนี้ชาฆริซาปซ์ยังมีเชื่อเสียงในเรื่องการผลิตไวน์แบรนด์ท้องถิ่น ที่คว้าอันดับหนึ่งในการแข่งขันไวน์ระดับนานาชาติ
เนื่องจากชาฆริซาปซ์ตั้งอยู่บนทางหลวง “เกรท อุซเบก (Great Uzbek) ซึ่งเป็นเส้นทางการค้าและขนส่งมาตั้งแต่โบราณของเหล่าพ่อค้า คาราวาน และนักเดินทางมากมาย ซึ่งรวมถึง พ่อค้าชาวอิตาลีอย่าง มาร์โค โปโล ด้วยเช่นกัน
ทัวร์อุซเบกิสถาน : อนุสาวรีย์ อามีร์ เตมือร์ (Amir Temur) หรือ ทามือเลน (Tamerlane) ที่ Ak-Saray Palace
ชาฆริซาปซ์เมืองโบราณที่ได้รับการขึ้นทะเบียนเป็นมรดกโลก
ชาฆริซาปซ์เป็นศูนย์กลางประวัติศาสตร์ ที่ตั้งอยู่บนเส้นทางสายไหมทางตอนใต้ของอุซเบกิซสถาน ที่มีอายุมากกว่า 2,000 ปี เป็นศูนย์กลางทางวัฒนธรรมและการเมืองของภูมิภาคเกช ในศตวรรษที่ 14-15 และมีอนุสรณ์สถานอันโดดเด่นและย่านโบราณสถานมากมาย ซึ่งเป็นประจักษ์พยานถึงการพัฒนาทางโลกของเมือง ในยุคแห่งความรุ่งโรจน์ภายใต้การปกครองของอามีร์ เตมือร์ และราชวงศ์ติมูริด ในช่วงศตวรรษที่ 15-16 ทำให้เมืองชาฆริซาปซ์ได้รับการขึ้นทะเบียนเป็นมรดกโลกขององค์การยูเนสโก้ ในปี ค.ศ. 2000 ด้วยหลักเกณฑ์ดังนี้
หลักเกณฑ์ข้อที่ (iii) : ชาฆริซาปซ์มีอนุสรณ์สถานอันวิจิตรงดงามมากมาย โดยเฉพาะอย่างยิ่งจากยุคติมูริด ซึ่งมีความสำคัญทางวัฒนธรรมและการเมืองอย่างมากในเอเชียกลางยุคกลาง
หลักเกณฑ์ข้อที่ (iv) : อาคารของเมืองชาฆริซาปซ์ โดยเฉพาะอย่างยิ่งพระราชวังอัค-ซาราย และสุสานของอามีร์ เตมือร์ เป็นตัวอย่างงานสถาปัตยกรรมที่โดดเด่นของรูปแบบ ที่มีอิทธิพลอย่างลึกซึ้งต่อสถาปัตยกรรมของภูมิภาคนี้
นอกจากอนุสรณ์สถานเหล่านี้แล้ว เมืองนี้ยังมีสิ่งปลูกสร้างที่น่าสนใจมากมายในยุคสมัยใหม่ ทั้งมัสยิด อนุสรณ์สุสาน และบ้านโบราณทั้งหลัง เช่น มัสยิดมีร์ฮามิด, กลุ่มอนุสรณ์สถานชูบิน, มัสยิดคุนดูซาร์ และ มัสยิดคุนชิบาร์ ที่สะท้อนรูปแบบสถาปัตยกรรมย้อนยุคที่ได้รับความนิยมอย่างกว้างขวาง โดยห้องต่างๆ มักถูกจัดวางไว้รอบๆ ลานภายในพร้อมเฉลียง
สถานที่ท่องเที่ยวสำคัญในชาฆริซาปซ์
พระราชวังอัค-ซาราย (The Ak-Saray Palace)
มีตำนานที่กล่าวถึงการก่อสร้างพระราชวังอัค-ซาราย ตำนานหนึ่งเล่าว่า ทัวร์อุซเบกิสถาน หลังการขึ้นครองราชย์ของอามีร์ ติมือร์ พระองค์เริ่มคิดถึงการสร้างพระราชวังอัค-ซารายอันงดงาม ทรงเรียกสถาปนิกและกำหนดเป้าหมายของพระองค์ หลังรับพระบัญชาของพระองค์แล้ว สถาปนิกก็เข้าไปในกระทรวงการคลังเพื่อขออนุมัติงบประมาณก่อสร้าง เมื่อได้รับการอนุมัติแล้วช่างฝีมือก็เริ่มสร้างฐานรากจากดินเหนียวผสมกับทองคำท่ามกลางสายพระเนตรของอามีร์ ติมือร์ ต่อมาเมื่อสถาปนิกเห็นว่าผู้ปกครองของเขายังคงนิ่งเฉยอยู่ เขาจึงแยกบล็อกออกแล้วส่งทองคำคืนพระคลัง เมื่ออามีร์ ติมือร์ทรงตรัสถามว่า “ทำไมเจ้าถึงทำเช่นนั้น?” เขาตอบว่า “เพื่อให้พระองค์มั่นพระทัยในความมุ่งมั่นที่จะเริ่มก่อสร้างอาคารที่ต้องใช้ค่าใช้จ่ายมหาศาล”
อาคารพระราชวังในชาฆริซาปซ์ ใช้เวลาก่อสร้างกว่าหนึ่งในสี่ของศตวรรษ ในปี ค.ศ. 1404 ระหว่างการเดินทางไปยังราชสำนักของอามีร์ ติมือร์ในกรุงซามาร์คันด์ รุย กอนซาเลซ เด คลาวิโฮ (Ruy Gonzalez de Clavijo) เอกอัครราชทูตสเปนได้เดินทางผ่านชาฆริซาปซ์ รู้สึกประหลาดใจและหลงใหลในปาฏิหาริย์ทางสถาปัตยกรรมนี้ และเขาได้ทิ้งคำอธิบายโดยละเอียดไว้ โดยสังเกตว่า แม้พระราชวังจะยังสร้างไม่เสร็จ แต่ก็มีการตกแต่งพระราชวังอย่างวิจิตร แผนผัง ขนาด และรูปลักษณ์ทางศิลปะโดยรวมของพระราชวังอัค-ซาราย สามารถสร้างขึ้นใหม่ได้ จากคำอธิบายของผู้ร่วมสมัยและผู้เห็นเหตุการณ์ ตลอดจนจากผลการขุดค้นทางโบราณคดีและตามบันทึกที่เป็นลายลักษณ์อักษร พระราชวังประกอบไปด้วยพื้นที่พักอาศัยและกิจกรรมต่างๆ อันโอ่อ่าหลายแห่ง โดยจัดกลุ่มตามลานต่างๆ ที่แยกจากกัน
ขนาดโดยรวมของพระราชวังน่าประทับใจ ลานหลักที่มีเพียงลานเดียวที่ถูกสร้างขึ้นใหม่ มีความกว้าง 120-125 เมตร และยาว 240-250 เมตร ขนาดของลานอื่นๆ และขอบเขตด้านนอกของพระราชวังไม่ได้ถูกสร้างขึ้นใหม่ เนื่องจากพื้นดินไม่เรียบ เป็นหลุมเป็นบ่อมากมายในศตวรรษที่ 15-16 จากการคำนวณองค์ประกอบต่างๆ ของพระราชวังที่ยังหลงเหลือมาถึงปัจจุบัน ทำให้ค่อนข้างแน่ใจได้ว่าประตูทางเข้าหลัก สูง 70 เมตร มียอดแหลมโค้งที่เรียกว่า “โคนร่า (ko’nra)” อยู่ด้านบน ในขณะที่ทาวเวอร์มุมบนฐานหลายเหลี่ยม มีความสูงอย่างน้อย 80 เมตร ทางเข้าหลัก กว้าง 50 เมตร และซุ้มประตูมีช่วงกว้างที่สุด 22.5 เมตร ซึ่งกว้างที่สุดในเอเชียกลาง
การตกแต่งทางสถาปัตยกรรม ได้รับการออกแบบด้วยสีสันที่หลากหลาย เมื่อช่างฝีมือใช้เทคนิคต่างๆ ทำให้รูปลักษณ์ทางศิลปะของพระราชวังอัค-ซารายโดดเด่นเป็นพิเศษ ประตูทางเข้าหลักของพระราชวังหันหน้าไปยังทางทิศเหนือ มุ่งหน้าสู่เมืองหลวงซามาร์คันด์ เนื่องจากบริเวณพระราชวังได้รับแสงไม่ดี สถาปนิกจึงใช้การแบ่งสัดส่วนแบบเรียบ ทำให้มีการตกแต่งอย่างต่อเนื่อง การปูโมเสกด้วยอิฐที่ส่วนใหญ่เป็นสีเข้มและสีฟ้าอ่อน ที่ออกแบบเป็นลวดลายเรขาคณิตและจารึกขนาดใหญ่บนพื้นหลังของอาคารอิฐขัดเงา ช่วยให้ประตูทางเข้ามีสีที่นุ่มนวลเป็นพิเศษ และมีกลิ่นอายของความลึกลับอันยิ่งใหญ่
งานโมเสกและมาจอลิก้าต่างๆ ในช่องเล็กๆ บริเวณทางเข้าได้รับการตกแต่งอย่างพิถีพิถันและมีสีสันสวยงาม ทัวร์อุซเบกิสถาน การตกแต่งลวดลายที่ละเอียดประณีตประกอบด้วย การจารึกอักษรอารบิกอันวิจิตรงดงาม ซึ่งส่วนใหญ่เป็นเนื้อหาในคัมภีร์อัลกุรอานแม้ว่าจะเป็นเรื่องทางโลกก็ตาม ท่ามกลางพื้นผิวที่เป็นปูนฉาบ คำจารึกที่หลงเหลือยู่ระบุว่าสร้างเสร็จในช่วงปี ค.ศ. 1395-1396 และมีชื่อของมูฮัมหมัด ยูซุฟ เตบริซี ช่างฝีมือจากเมืองอะเซรีในแคว้นตาบริซ
ตามคำบอกเล่าของ คลาวิโฮ เอกอัครราชทูตชาวสเปน ซึ่งได้เข้าเยือนพระราชวังอัค-ซาราย ทัวร์อุซเบกิสถาน โดยกล่าวว่า “ในพระราชวังแห่งนี้มีทางเข้ายาวมากและมีประตูที่สูงมาก และบริเวณทางเข้าด้านซ้ายและขวา มีซุ้มอิฐปูด้วยกระเบื้องลวดลายต่างๆ ใต้ซุ้มประตูเหล่านี้ มีลักษณะเป็นห้องเล็กๆ ไม่มีประตู พื้นด้านในปูด้วยกระเบื้อง เพื่อให้ประชาชนได้นั่งบริเวณนั้น ในสมัยที่อามีร์ประทับอยู่ ขณะไกลออกไปก็มีประตูอีกบานหนึ่ง ต่อมามีลานใหญ่ปูด้วยแผ่นพื้นสีขาว และล้อมรอบด้วยห้องโถงที่ตกแต่งอย่างวิจิตรงดงาม กลางลานนั้นมีสระน้ำขนาดใหญ่ ลานกว้างประมาณ 300 ก้าว และเมื่อเข้าไปตำหนักหลังใหญ่จะมีประตูสูงและกว้างมาก ประดับด้วยทองคำ สีฟ้า และกระเบื้องฝีมือประณีตมาก ทัวร์อุซเบกิสถาน ตรงกลางเหนือประตูมีภาพสิงโตนอนอยู่กลางแสงแดง และพบภาพเดียวกันที่ขอบ ซึ่งนี่คือสิ่งประดิษฐ์ของผู้ปกครองแห่งซามาร์คันด์
หลังจากนั้นคณะทูตได้เข้าชมห้องที่อามีร์ ติมือร์ ทรงกำหนดให้เป็นที่ร่วมเสวยพระกระยาหารเลี้ยงกับพระมเหสี ซึ่งกว้างและหรูหรามาก ทัวร์อุซเบกิสถาน เมื่อก่อนเป็นสวนขนาดใหญ่ที่มีไม้ผลนานาพันธุ์ ภายในมีสระน้ำมากมายและทุ่งหญ้าที่จัดวางอย่างมีศิลปะ ตรงทางเข้าสวนแห่งนี้มีพื้นที่กว้างใหญ่ ที่ประชาชนจำนวนมากสามารถมานั่งเพลิดเพลินได้ ในช่วงฤดูร้อนบริเวณริมน้ำและใต้ร่มเงาของต้นไม้ งานฝีมือที่ตกแต่งพระราชวังนั้นหรูหรามาก จนต้องอัตถาธิบายทุกอย่างให้ดี และต้องพิจารณาดูทีละเล็กละน้อย
พระราชวังอัค-ซาราย เป็นสถาปัตยกรรมที่ยิ่งใหญ่ ไม่ใช่แค่ตามมาตรฐานเอเชียกลางเท่านั้น แต่ประเพณีทางประวัติศาสตร์กำหนดให้สุลต่านอับดุลลอข่าน ต้องทำลายสิ่งปลูกสร้างอันสง่างามเหล่านี้ ระหว่างการปิดล้อมเมืองชาฆริซาปซ์ที่ยังพิชิตไม่ได้ ซึ่งเป็นโครงสร้างทางสถาปัตยกรรมอันงดงามหรูหราของอามีร์ ติมือร์และราชวงศ์ของพระองค์ ที่ได้ก่อสร้างขึ้นและคงเหลือเพียงเสาและบางส่วนของซุ้มโค้งประตูทางเข้าหลักให้โลกได้เห็นเท่านั้น
ชอร์-ซู บาซาร์ (Chor-su bazaar)
ทัวร์อุซเบกิสถาน : ชอร์-ซู บาซาร์
ทัวร์อุซเบกิสถาน : ตุ๊กตาและสินค้าตั้งโชว์ เป็นของที่ระลึกที่ขายอยู่ในบาร์ซาร์
ในวัฒนธรรมเอเชียกลาง โดมการค้า ไม่ได้เป็นเพียงตลาสด สำหรับจับจ่ายสินค้าอุปโภคบริโภคประจำวันเท่านั้น แต่ยังมีบทบาทสำคัญในวิถีชีวิตของชาวเมืองมาอย่างยาวนานหลายศตวรรษ ซึ่งมักจะปรากฏขึ้นบริเวณสี่แยกเส้นทางการค้า เป็นเวทีการแลกเปลี่ยนสินค้า ข่าวสาร และคุณค่าทางวัฒนธรรมอย่างต่อเนื่อง รวมถึงสันทนาการต่างๆ เช่น โรงน้ำชา ร้านปลอฟ (พิลาฟ) การแสดงของศิลปินข้างถนนที่มีการแสดงละครในตลาดสด
ชาฆริซาปซ์เป็นหนึ่งในเมืองโบราณที่ตั้งอยู่บนเส้นทางสายไหมอันยิ่งใหญ่ ในศูนย์กลางทางการค้าและงานฝีมือ ชอร์ซู บาซาร์ ของเมืองชาฆริซาปซ์ถูกสร้างขึ้นในปี ค.ศ. 1602 ทัวร์อุซเบกิสถาน โดยตั้งอยู่ที่สี่แยกของถนนโบราณจากประตูเมืองชารีมการ์ (Charymgar Gate) ทางใต้ ในสมัยอามีร์ ติมือร์ เรียกว่า “ประตูเตอรเมซ (Termez Gate)” ซึ่งเป็นทางหลวงโบราณที่ข้ามชาฆริซาปซ์ จากดินแดนตะวันออกไปยังดินแดนตะวันตก ภายในชอร์ซู บาซาร์แห่งชาฆริซาปซ์ มีตลาดสดในร่ม โรงอาบน้ำ ที่เปิดดำเนินการอยู่จนทุกวันนี้
ตลาดชอร์ซู บาซาร์แห่งชาฆริซาปซ์ ทัวร์อุซเบกิสถาน สร้างขึ้นจากอิฐเผาที่ก่อขึ้นอย่างยอดเยี่ยม มีเพดานทรงโดมที่ดูโดดเด่น และไม่มีการตกแต่งใดๆ เลย ภายในเป็นห้องโถงกลางทรงแปดเหลี่ยม คลุมด้วยหลังคาโดมขนาดใหญ่ มีทางเข้าออก 4 ทิศ และมีโดมเล็กเหนือประตูทางเข้าทั้งสี่ ภายนอกมีความคล้ายคลึงกับโดมการค้าในยุคกลางของบูคาร่าและซามาร์คันด์ ทำให้ตลาดชอร์ซูมีความโดดเด่นจากรูปแบบดั้งเดิม เป็นอาคารกลางที่มีเส้นผ่านศูนย์กลาง 21 เมตร
ปัจจุบันตลาดชอร์ซูแห่งนี้มีการซื้อขายสินค้าบางประเภท เช่น เครื่องถ้วยชามเซรามิก การทอผ้า ทอพรมด้วยมือ ขณะเดียวกันก็มีการนำเข้าผ้า พรม และผลิตภัณฑ์ท้องถิ่นอื่นๆ มาจำหน่ายอีกด้วย
ดอรัส เซาดัต (The Dor-us Siyodat)
อนุสรณ์สถาน “ดอรัส เซาดัต” มีความหมายว่า ที่เก็บข้อมูลแห่งอำนาจ ซึ่งเป็นกลุ่มสิ่งก่อสร้างที่ยิ่งใหญ่อีกแห่งหนึ่งในเมืองชาฆริซาปซ์ ภายในมีสิ่งก่อสร้างหลงเหลือให้เห็นในปัจจุบันเพียงสองแห่ง คือ สุสานของชาฮังคีร์และโอมาร์ ชีค และห้องใต้ดินฝังพระศพของอามีร์ ติมือร์ (แต่ไม่เคยถูกนำมาฝังเลย เนื่องจากถูกฝังที่กูร-เอมีร์ ในซามาร์คันด์) ซึ่งกลุ่มอาคารดอรัส เซาดัต ยังคงเป็นกลุ่มสถาปัตยกรรมที่โรแมนติกและลึกลับที่สุดในชาฆริซาปซ์
ดอรัส เซาดัต ถูกสร้างขึ้นหลังจาก กียาส-อุด-ดิน ชาฮังคีร์ มีร์ซ่า พระโอรสอันเป็นที่รักของอามีร์ ติมือร์ ซึ่งประชวรและสิ้นพระชนม์ด้วยพระชนมายุ 22 ปี หลังอภิเษกสมรสได้เพียง 2 ปี ทำให้พระองค์ทรงโทรมนัสสุดพระทัยจะหักห้ามได้ พระปรางของพระองค์อาบด้วยน้ำพระเนตร และเป็นช่วงเวลาแห่งความโศกเศร้า ที่ทำให้เกิดการเว้นว่างศึกสงครามของพระองค์ จากจักรวรรดิที่เต็มไปด้วยความสุข ความยินดี และความฮึกเหิมกับการขยายดินแดน กลายเป็นจักรวรรดิที่เต็มไปด้วยความโศกเศร้า พลเมืองชาวซามาร์คันด์ร่ำไห้ถึงการสูญเสียองค์มกุฏราชกุมาร ซึ่งเป็นเจ้าชายรูปงาม นักรบที่กล้าหาญ ที่ในช่วงที่ชีวิตก่อนหน้าอยู่บนโลกที่เต็มไปด้วยกลีบกุหลาบ
พระศพของชาฮังคีร์ มีร์ซ่า ซึ่งสิ้นพระชนม์ในเมืองซามาร์คันด์ และได้เคลื่อนย้ายมายังชาฆริซาปซ์ ซึ่งเป็นถิ่นเกิดของบรรพบุรุษของพระองค์ เบื้องต้นชาฮังคีร์ มีร์ซ่าถูกฝังไว้ที่สุสานของครอบครัวในเขตเมืองชาฆริซาปซ์โบราณ ต่อมาอามีร์ ติมือร์ทรงดำริสร้างสุสานสำหรับพระองค์ พระโอรส และพระนัดดาของพระองค์ โดยการก่อสร้างสุสานเริ่มขึ้นหลังจากเสร็จศึกกับอาณาจักรฆวาเรสซึมทางทิศตะวันตก เหนือสุสานของมกุฎราชกุมารชาฮังคีร์ มีการสร้างมาดราสซ่ะห์อยู่ติดกัน ต่อมาได้กลายเป็นศูนย์กลางทางจิตวิญญาณของคอมเพล็กซ์ แต่สุดท้ายมาดราสซ่ะห์แห่งนี้รวมถึงสิ่งก่อสร้างอื่นๆ ก็ถูกทำลายลงในศตวรรษที่ 17 ตามคำสั่งของเซย์บานิด อับดุลลอฮ์ ข่าน ที่ 2 ยกเว้นเพียงสุสานของชาฮังคีร์ มีร์ซ่า และโอมาร์ ชีค มีร์ซ่าเท่านั้น ตามคำบอกเล่าของ มาลิโฆ (Malikho) นักประวัติศาสตร์ชาวอาหรับ
สุสานของชาฮังคีร์ มีร์ซ่า ตั้งอยู่ทางทิศตะวันออกของกลุ่มอาคารดอรัส เซาดัต โดยมี “ซิอารัตโฆน่ะ (Ziaratkhana)” ซึ่งเป็นห้องรำลึก ทางใต้ของสุสานพบช่องประตูเล็กของมาดราสซ่ะห์ ที่มีซุ้มโค้งยาวเกิน 20 เมตร จากทางเข้าหลักไปยังลานของมาดราสซ่ะห์ ซึ่งมาดราสซ่ะห์แห่งนี้สร้างขึ้นเพื่อใช้ประกอบพิธีทางศาสนาและพิธีรำลึก มาดราสซ่ะห์และสุสานของมกุฎราชกุมารชาฮังคีร์ ได้รับการตกแต่อย่างหรูหราด้วยทองคำ สีฟ้า (สีที่แพงที่สุดในยุคนั้น) และกระเบื้อง ที่นี่มีสวนพร้อมสระน้ำ
ต่อมาในปี ค.ศ. 1394 อุมาร์ ชีค มีร์ซ่า ที่ 1 ทัวร์อุซเบกิสถาน ได้สิ้นพระชนม์ลง จากการถูกยิงที่พระศอด้วยลูกธนูของกองทัพชาวเคิร์ดที่ล้อม “ป้อมปราการ ตุซ ฆูรมาตู (Tuz Khurmatu Fortress)” ไม่ไกลจากเมืองแบกแดด ขณะที่รับพระราชโองการของพระบิดา ทัวร์อุซเบกิสถาน มีรายงานว่าหลังจากที่อามีร์ ติมูร์ทรงทราบข่าวการสิ้นพระชนม์ของมกุฏราชกุมารองค์ที่สอง พระองค์ไม่ทรงแสดงอารมณ์ใดๆ เลย โดยเจ้าหญิงมองโกลแห่งทาริม มาลิกัต อัฆฮา (Malikat Agha) พระมเหสี และ อิสกันดาร์ มีร์ซ่า โอรสองค์ที่สามของมาร์ ชีค มีร์ซ่า ที่ 1 ทัวร์อุซเบกิสถาน ได้นำพระศพไร้วิญญาณมายังเมืองชาฆริซาปซ์ ซึ่งถูกฝังร่วมกับชาฮังคีร์ มีร์ซ่า พระอนุชาที่เสียชีวิตไปก่อนหน้านี้ ปัจจุบันสุสานแห่งนี้ถือเป็นส่วนที่ดีที่สุดของโครงสร้าง ที่ยังหลงเหลืออยู่ในกลุ่มสถาปัตยกรรมดอรัส เซาดัต
ห้องใต้ดินฝังพระศพของอามีร์ ติมือร์ (Amir Timur’s Crypt)
ด้านหลังดอรัส เชาดัต เป็นบังเกอร์ที่มีประตูไม้ทอดไปสู่ห้องใต้ดิน ซึ่งเป็นฝังพระศพของอามีร์ ติมือร์ ซึ่งค้นพบโดยบังเอิญหลังจากเด็กเล่นฟุตบอลแล้วล้มลงกับพื้น ในปี ค.ศ. 1943
ภายในห้องใต้ดินเรียบๆ แห่งนี้ โดดเด่นด้วยข้อความอัลกุรอานบนซุ้มประตู ที่กล่าวว่า “อำนาจสูงสุดเป็นของอัลลอฮ์แต่ผู้เดียว พระองค์ทรงเป็นนิรันดร” และ “ความดีทั้งหมดอยู่ในพระหัตถ์ของอัลลอฮ์ พระองค์คือผู้ทรงอำนาจ” ตรงกลางห้องมีโลงพระศพหินอ่อน ปิดทับด้วยแผ่นฝาโลงหินอ่อนขนาดใหญ่ หนา 11 เซนติเมตร พร้อมด้วยหูเหล็กฝังยึดฝาโลง 5 จุด ที่มุมทั้ง 4 และตรงกลาง และพบหินก่อนหนึ่งที่ถอดรหัสกล่าวถึงชีวิตของอามีร์ ติมือร์ ทำให้เชื่อกันว่าห้องใต้ดินนี้สร้างขึ้นไว้สำหรับพระองค์
กลุ่มอนุสรณ์สถานดอรุฏ ติโลวัต (Dor-ut Tilovat Ensemble)
อนุสรณ์สถานดอรุท ติโลวัต ก่อสร้างขึ้นระหว่างปี ค.ศ. 1370-1371 หลังการเสียชีวิตของท่านชีคซามซิดดิน กุลาล (Shamsiddin Kulal) อดีตผู้นำทางศาสนาและผู้ก่อตั้งคณะซูฟี (คณะผู้ศรัทธาที่ยึดมั่นกับหลักปฏิบัติทางจิตวิญญาณที่เข้มงวดของศาสนาอิสลาม) เป็นผู้ให้คำปรึกษาทางจิตวิญญาณของอามีร์ ตารากาย (Amir Taragay) และ อามีร์ ติมือร์ (Amir Timur) และเป็นอาจารย์ของ บะฮะ’ อาล-ดิน นัฆชบันด์ (Baha’ al-Din Naqshband) ผู้ก่อตั้ง กลุ่มนัฆชบันด์ (Naqshband) ซึ่งเป็นคณะซูฟีซุนนี่ที่ใหญ่ที่สุดกลุ่มหนึ่ง ซึ่งสุสานของท่านกลายเป็นสถานที่ที่เคารพของเหล่าสานุศิษย์จำนวนมากทันที
ถัดจากสุสานของท่านชีค ซามซิดดิน กุลาล จะเป็นอาคารของมาดราสซ่ะห์ ดอรุฏ ติโลวัต ในช่วงรัชสมัยของอามีร์ ติมือร์ พระศพของอามีร์ ตารากาย ได้ถูกย้ายไปยังอีกห้องหนึ่ง และถูกปิดผนึกด้วยหินอ่อนสีนิล ต่อมาในปี ค.ศ. 1435 ภายใต้การปกครองของสุลต่านอูลุฆเบ็ก ได้มีการสร้างสุสานทรงโดมขึ้นเหนือ อนุสรณ์สุสานของชีคซามซิดดิน กุลาล และซากอาคารที่สร้างขึ้นก่อนหน้านี้ ซึ่งมีความเรียบง่ายกว่า
ระหว่างปี ค.ศ. 1437-1438 สองปีหลังการสร้างมัสยิด มักบะรัต (Makbarat) หรือห้องเก็บพระศพ ได้ถูกสร้างขึ้นเพื่อเป็นที่ฝังศพของผู้สืบทอดหรือรัชทายาทและสมาชิกราชวงศ์ติมูริด ซึ่งสร้างตามพระดำริของสุลต่านอูลุฆเบ็ก ที่ข้างกำแพงด้านใต้ของสุสานของท่านชีคซัมซิดดิน กุลาล เป็นหลุมศพหินอ่อนในศตวรรษที่ 15-17 ที่ถูกย้ายไปยังห้องใต้ดินในเวลาต่างๆ จากสุสานใกล้เคียง มีหลายหลุมศพตัวอย่างที่กล่าวถึงชื่อของ เตอรเมซ ซายยิดส์ (Termez Sayyids) ซึ่งเป็นผู้ที่อ้างว่าเป็นผู้สืบเชื้อสายโดยตรงของนบี มูฮัมหมัดแห่งอิสลาม ต่อมาเป็นห้องที่ชื่อว่า กัมบาซี-ซายิดอน (โดมของซายยิด)
ดังนั้นรอบๆ ลานของ มาดราสซ่ะห์ ดอรุฏ ติโลวัต ทัวร์อุซเบกิสถาน จึงเป็นที่ตั้งของหมู่อนุสรณ์สถานที่ก่อสร้างขึ้นตลอดศตวรรษที่ 14-15 ประกอบไปด้วยสุสานของท่านชีคซามซิดดิน กุลาล โรงเรียนสอนศาสนากับ กูรฆนา (Gurkhana) ของอามีร์ ตารากาย มัสยิดและมักบะรัตของสุลต่านอูลุฆเบ็ก และระหว่างกลุ่มอนุสรณ์สถานที่มีชื่อของเมืองชาฆริซาปซ์ อย่าง ดอรุฏ ติโลวัต และ ดอร์-อุส ซิโยดัต มีสุสานเก่าแก่แห่งหนึ่ง ซึ่งเป็นที่ฝังศพของชนชั้นสูงในท้องถิ่นและนักบวชด้วยเช่นกัน
มัสยิดก๊อก–กัมบาซ (Kok-Gumbaz Mosque)
เป็นมัสยิดที่สร้างขึ้นเมื่อปี ค.ศ. 1435-1436 ในบริเวณอนุสรณ์สถานดอรุฎ ติโลวัต ทัวร์อุซเบกิสถาน ตั้งอยู่ตรงข้ามกับสุสานของท่านชีคซามซิดดิน กุลาล กัมบาซเป็นมัสยิดวันศุกร์ที่ใหญ่ที่สุดเมืองชาฆริซาปซ์ โดยมีจารึกบนประตูทางเข้าระบุว่ามัสยิดภายในอนุสรณ์สถานดอรุฏ ติโลวัตแห่งนี้ สร้างขึ้นโดยสุลต่านอูลุฆเบ็ก ในนามมีร์ซ่า ชาห์ รุฆ พระบิดาของพระองค์ ซึ่งปัจจุบันรู้จักกันในนามมัสยิดวันศุกร์แห่งชาฆริซาปซ์
อาคารมัสยิดมียอดโดมขนาดใหญ่ปูด้วยกระเบื้องเซรามิกสีน้ำเงิน ซึ่งเป็นที่มาของคำว่า “กัมบาซ (Gumbaz)” ที่มีความหมายว่า โดมสีน้ำเงิน โดยรอบๆ โดมมีจารึกด้วยกระเบื้องเคลือบสีขาว ความว่า “อำนาจอธิปไตยเป็นอัลลอฮ์ ความมั่นคงของอัลลอฮ์”
พื้นที่ภายในของมัสยิดก๊อก-กัมบาซมีลักษณะเกือบเป็นรูปสี่เหลี่ยมจัตุรัส และมีช่องลึก (niches) สี่ช่องที่จัดวางอย่างระมัดระวังในแต่ละมุมของอาคาร พื้นผิวผนังทั้งหมดตกแต่งด้วย แกนช์ (Ganch) ซึ่งเป็นการแกะสลักที่เต็มไปด้วยลวดลายที่ละเอียดวิจิตรสวยงาม ทัวร์อุซเบกิสถาน และตกแต่งทาสีด้วยเครื่องประดับสีน้ำเงินเข้มและสีฟ้าอ่อนที่สลับซับซ้อน
รู้จักงานแกะสลักแกนซ์ (Ganch carving)
ใครก็ตามที่ไม่เคยไปเอเชียกลางแทบจะไม่รู้ความหมายของคำว่า “แกนช์ (Ganch)” ทัวร์อุซเบกิสถาน หากใครอธิบายว่า แกนช์ คืออะไร มันอาจดูธรรมดามาก แกนช์ไม่ใช่หินหรือดินเหนียว แต่เป็นอะไรบางอย่างที่อยู่ระหว่างนั้น ได้มาจากการเผาหินที่มียิปซั่มและดินเหนียวที่บดเป็นผง แล้วผสมกับน้ำและกาวที่ได้จากพืช แล้วค่อย ๆ แข็งตัวเมื่อแห้ง เฉดสีของแกนช์มีตั้งแต่สีเทาอ่อนไปจนถึงสีเหลืองอ่อน การแกะสลักและการปั้นแกนช์ เป็นหนึ่งในงานฝีมือทางศิลปะรูปแบบหนึ่ง ที่มีเอกลักษณ์และเก่าแก่ของเอเชียกลาง
แกนช์ เป็นงานฝีมือที่มีประวัติความเป็นมาย้อนกลับไปในศตวรรษที่ 3-4 เริ่มต้นในพระราชวังโตปรัก-คาล่า (Toprak-Kala) ของอาณาจักรข่านฆวาเรซึม (Khwarezm) มีการสร้างรูปปั้นขนาดใหญ่ และทั้งห้องที่ตกแต่งด้วยแกนช์ ในศตวรรษที่ 5-7 องค์ประกอบทางประติมากรรมที่มีธีมเกี่ยวกับตำนานและเทพนิยาย ได้ประดับตกแต่งพระราชวังวาราฆชา (Varakhsha Palace) ซึ่งตั้งอยู่ใกล้เมืองบูคาร่าในศตวรรษที่ 9-10 เป็นงานแกะสลักนูนบนพื้นผิวเรียบได้รับความนิยมอย่างสูง สามารถมองเห็นได้ในการตกแต่งสุสานของราชวงศ์ซามานิดส์ในบูคาร่า และในพระราชวังของเตรเมซ ชาห์หลายพระองค์ (Termez Shahs) นอกจากการวาดภาพเหล่าสิงโตและกริฟฟิน (สัตว์ครึ่งนกอินทรีครึ่งสิงโต) แล้ว ช่างแกะสลักแกนช์ยังเลือกใช้ลวดลายอาหรับเรขาคณิตและดอกไม้อีกด้วย
มีเพียง มัสยิด มาดราสซ่ะห์ คฤหาสน์ของคหบดีเจ้าของที่ดิน และขุนนางที่ร่ำรวยเท่านั้น ที่ได้รับการตกแต่งด้วยแกนช์ แต่ศิลปะการแกะสลักแกนช์เจริญรุ่งเรืองอย่างแท้จริงในศตวรรษที่ 18-19 ซึ่งเป็นช่วงที่บ้านของประชาชนทั่วไปเริ่มตกแต่งด้วยแกนช์ ช่วงนี้แกนช์มีการพัฒนาวิธีการ เทคนิค อย่างโดดเด่น ประเภทของการแกะสลัก และการประดับตกแต่งที่หลากหลาย และในช่วงต้นศตวรรษที่ 20 มีการแกะสลักแกนช์บนพื้นผิวกระจกด้วย